ข้อความต้นฉบับในหน้า
การเกิดขึ้นของนิกายตันตระดำรงอยู่นานถึง 3 สมัยด้วยกัน คือ สมัยแรกมีชื่อเรียกว่า
มนตรยาน (Mantrayana) ซึ่งได้เริ่มต้นในพุทธศตวรรษที่ 8 แต่เพิ่งจะมีการเผยแพร่คำสอน อย่าง
จริงจังหลังจากพุทธศตวรรษที่ 10 นิกายนี้ได้ก่อให้เกิดเวทมนตร์คาถาต่าง ๆ ขึ้นมากมาย โดย
มีความมุ่งหมายที่จะให้เวทมนตร์คาถาเหล่านั้นเข้าช่วยให้การแสวงหาพระโพธิญาณทำได้ง่าย
ยิ่งขึ้น ดังนั้นในพุทธศาสนาจึงมีมนตร์ มีมุทระ มีมัณฑละ และเทพเจ้าองค์ใหม่เกิดขึ้นทั้งที่มีใน
ตำราและนอกตำรามากมาย
และพอหลังจาก พ.ศ.1293 นิกายตันตระนี้ ก็ได้รับการจัดระบบใหม่ขึ้นมา มีชื่อ
เรียกว่า วัชรยาน ซึ่งก็ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำสอนดั้งเดิมอยู่ในเรื่องพระเจ้า 5 พระองค์” (Five
Tathagatas) นิกายย่อยที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในช่วงนั้นคือ นิกายสหชยาน ซึ่งเน้นหนัก
ไปในทางการทำสมาธิและเจริญวิปัสสนา อีกทั้งสอนโดยใช้ปริศนาปัญหาธรรมและภาพ
ปริศนาต่าง ๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ระบบการเรียนการสอนที่กำหนดตายตัว เมื่อถึงพุทธวรรษที่
15 นิกายกาลจักรก็เกิดขึ้น ซึ่งกาลจักรนี้เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า นิกายนี้ได้ขยาย
ขอบเขตแห่งคำสอนกว้างขวางยิ่งขึ้น และเน้นหนักไปทางโหราศาสตร์ด้วย
นิกายดังกล่าวนี้เองได้เจริญขึ้นในอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักบวช
ในนิกายนี้ไม่เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า สิทธะ (Siddha) หรือผู้วิเศษ ซึ่งก็ไม่แตกต่างอะไรนัก
จากพระโพธิสัตว์ แต่กล่าวกันว่าหลังจากที่สิทธะได้บรรลุถึงภูมิที่ 8 แล้ว ก็จะมีฤทธานุภาพ
ต่าง ๆ ครบถ้วน สิทธะเป็นบุคคลที่เป็นแบบฉบับซึ่งจัดว่าเป็นอริยะ
ต่อมานิกายพุทธตันตระได้แตกแยกสาขาออกไปอีก แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ คือ พวก
วามจารี หรือพุทธตันตระฝ่ายซ้าย พวกนี้ประพฤติเลื่อนเปื้อนไม่รักษาพรหมจรรย์ มีลักษณะ
เป็นหมอผีมากขึ้น คือ อยู่ในป่าช้า ใช้กะโหลกหัวผีเป็นบาตร และมีภาษาลับพูดกันเฉพาะพวก
เรียกว่า “สนธยาภาษา” ถือการเสพกามคุณเป็นการบรรลุวิโมกข์ เกณฑ์ให้พระพุทธเจ้าและ
พระโพธิสัตว์มี “ศักติ” (Shakti) คือ ชายาคู่บารมี พระพุทธปฏิมาก็มีรูปอุ้มกอดศักติ การ
บรรลุนิพพานต้องทำให้ธาตุชายธาตุหญิงมาสมานกัน ธาตุชายเป็นอุบาย ธาตุหญิงเป็นปรัชญา
เมื่ออุบายรวมกับปรัชญาจึงได้ผลคือนิพพาน
1 พระธยานิพุทธทั้งห้าพระองค์ ได้แก่ พระไวโรจนพุทธะ พระอักโษภยพุทธะ พระรัตนสัมภวพุทธะ พระอมิตาภพุทธะ
และพระอโฆภยพุทธะ
* เอ็ดเวอร์ด คอนซ์, พุทธศาสนประวัติสังเขป, 2516 หน้า 102
* คล้ายกับพวกฮินดูตันตระที่แบ่งเป็นทักษิณะจารินกับว่ามาจาริน กล่าวคือ พวกทักษิณะจารินหรือฝ่ายขวาทำพิธี
บวงสรวงเทวดาผู้หญิงอย่างเปิดเผย แต่วามาจารินหรือฝ่ายซ้ายไปทำพิธีกันในลับ และไม่ใคร่แสดงตนว่านับถือ
ลัทธิพวกนี้
98 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา