ข้อความต้นฉบับในหน้า
ฐานะที่จัดทำหนังสือถึง 210 เล่ม เป็นนายกสมาคมนักวรรณกรรมตะวันออกที่สำคัญของอิตาลี
คือ Instituto Italaino Per il Medio Ed Estremo Oriente เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย Rome La
Sapienza กูเซปเป ทูซซี่กล่าวถึงพระพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาคือศาสนาที่กำลังมีชีวิต
เป็นศาสนาเดียวที่ให้เครื่องหมายแห่งพลังชีวิตและพลังขับที่ชุ่มชื่น ความสนใจพระพุทธศาสนา
ที่อุบัติขึ้นในโลกตะวันตกมิใช่เพียงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ในทางจิตภาพอีกด้วย พระพุทธ
ศาสนามีสิ่งที่จะบอกให้ทราบในยามทุกข์ สมัยเมื่อคุณค่าทางศีลธรรมและคุณค่าทางศาสนา
มากหลายกำลังเสื่อมโทรม
ในปี พ.ศ.2514 ขณะที่ศาสตราจารย์กูเซปเป ทูซซี่ มีอายุ 77 ปี เขาเดินทางไป
ประเทศทิเบตและได้สนทนากับเทนชิง ผู้พิชิตขุนเขาเอเวอร์เรสต์ เทนชิงเล่าว่า จากการสำรวจ
ดินแดนทิเบต เขาได้พบคัมภีร์พระพุทธศาสนาโบราณ อายุประมาณ 2,000 ปี จารึกลงใน
เปลือกไม้ ศ.กูเซปเป ทูซซี่เชื่อว่า ภาษาที่จารึกเป็นภาษาเตอร์กิสถาน ดินแดนที่พระพุทธศาสนา
เคยเจริญรุ่งเรืองมาในอดีตกาล และเชื่ออีกว่า คัมภีร์เหล่านี้คงถูกนำมาสู่ประเทศทิเบต แต่ยัง
ค้นไม่พบว่าคัมภีร์ส่วนใหญ่เก็บเอาไว้ ณ ที่ใด เขาพยายามสืบเสาะหาแหล่งเก็บคัมภีร์เหล่านั้น
ในที่สุดก็พบว่า เก็บไว้ที่วัดมันคาร์ (Ghangar) ซึ่งกองสุมอยู่กับคัมภีร์อื่น ๆ มีกองฝุ่นจับหนา
ทึบทีเดียว ท่านขอซื้อแต่พระลามะไม่ยอมขายให้ โดยบอกว่า ความรู้มิได้มีไว้เพื่อซื้อขายแต่จะ
ให้เปล่าแก่คนผู้ต้องการความรู้
พระภิกษุชาวทิเบตเองก็ได้เข้าไปปักหลักเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอิตาลี
เช่นเดียวกัน เช่น ลามะเกซเซ จำปะ กษัทโซ (Lama Geshe Jampa Gyatso) ท่านเป็นอาจารย์
สอนอยู่ที่สถาบัน Institute Lama Tzong Khapa ในเมือง Pomaia ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2519 เป็น
สถาบันที่สำคัญมากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอิตาลี นอกจากนี้ยังมี “มูลนิธิลามะ
กังเชนเพื่อสันติภาพโลก” (The Lama Gangchen World Peace Foundation) ก่อตั้งโดยลามะ
กังเชน (Lama Gangchen) ในปี พ.ศ. 2535 ที่เมืองมิลาน โดยมีสโลแกนว่า “สันติสุขภายใน
คือรากฐานที่ดีที่สุดเพื่อสันติภาพโลก” (Inner Peace is the Best Foundation for World Peace)
ท่านลามะกังเชนได้ขยายสาขาออกไปมากมายทั่วโลก ปัจจุบันมีมากกว่า 100 สาขา และยังได้
ตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นที่เมืองมิลาน เพื่อพิมพ์เผยแพร่หนังสือพระพุทธศาสนาแบบทิเบตด้วย จัด
พิมพ์ต้นฉบับไปแล้วประมาณ 23 เล่ม เป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา บางเล่มพิมพ์ถึง 11 ภาษา
ทั้งนี้เพื่อปรารถนาให้ชาวโลกหลายชาติหลายภาษาได้มีโอกาสสัมผัสขุมทรัพย์ทางปัญญาใน
พระพุทธศาสนาแบบทิเบต
บุคคลสำคัญที่สุดที่ทำให้คนอิตาลีและชาวโลกสนใจพระพุทธศาสนาทิเบตคือ
208 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า