ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศรีลังกามีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะวัฒนธรรมการบวช
พระภิกษุจะนิยมบวชตลอดชีวิต แต่ละปีบวชได้เพียงครั้งเดียว และแต่ละวันบวชได้เพียง 1 รูป
เท่านั้น ด้วยเหตุนี้พระภิกษุศรีลังกาจึงมีคุณภาพ ไม่ได้บวชโดยหวังพึ่งพระศาสนาเพียงชั่วครั้ง
ชั่วคราวแล้วลาสิกขาออกไป ปัจจุบันพระภิกษุที่จาริกเผยแผ่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นพระ
จากศรีลังกาจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะท่านมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและมี
ศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา
ศรีลังกาเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทมาตั้งแต่ยุคโบราณ พระพุทธศาสนา
จากอินเดียเข้าสู่ลังกาเมื่อประมาณปี พ.ศ.236 โดยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระมหินท
เถระและคณะไปประกาศพระศาสนาในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ มีคนออกบวชหลายพันคน
พระราชาทรงอุทิศมหาเมฆวันอุทยานเป็นวัด เรียกว่า วัดมหาวิหาร พระมหินทเถระได้นำ
พระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถามาสู่ลังกา และยังได้นำอารยธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม
เข้าไปด้วย
ต่อมาพระนางอนุฬาเทวีมเหสีและสตรีบริวารจำนวนมากปรารถนาจะอุปสมบทบ้าง
พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศก ทูลขอพระสังฆมิต
ตาเถรี และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ด้านทักษิณมาสู่ลังกาทวีป จึงทำให้มีสตรีออกบวชเป็นภิกษุณีกัน
จํานวนมาก
ในปี พ.ศ.433 รัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย พวกทมิฬเข้ายึดครองอนุราธปุระ
เป็นเวลา 14 ปี จนพระองค์ต้องเสียราชบัลลังก์และเสด็จลี้ภัยไปซ่องสุมกำลัง ระหว่างนั้นทรง
ได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหาติสสะ ต่อมาเมื่อปราบพวกทมิฬได้แล้วจึงเสด็จกลับมา
ครองราชย์อีกครั้ง ทรงให้ทำการสังคายนาและจารึกพระพุทธพจน์ลงใบลานเป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ยังทรงอุปถัมภ์พระมหาติสสะพร้อมทั้งสร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวายด้วย เป็นเหตุให้
พระภิกษุมหาวิหารไม่พอใจ สงฆ์จึงแตกออกเป็น 2 คณะ คือ มหาวิหาร กับอภัยคีรีวิหาร
คณะมหาวิหารเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระธรรมวินัยใด ๆ
และยังตำหนิรังเกียจภิกษุต่างนิกายว่าเป็นอลัชชี ส่วนคณะอภัยคีรีวิหารเป็นคณะที่เปิดกว้าง
ยอมรับเอาความคิดเห็นต่างนิกาย ไม่รังเกียจภิกษุต่างนิกาย
พระพุทธโฆษาจารย์ กาลต่อมามีปราชญ์พระพุทธศาสนาผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งชื่อ
พระพุทธโฆษาจารย์ (เกิดปี พ.ศ.945) เดินทางจากอินเดียมาที่สำนักมหาวิหารเพื่อศึกษา
1 หลักฐานบางแห่งว่า พ.ศ.450.
118 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า