ปกุธกัจจายนะและสัญชัยเวลัฏฐบุตร: ความเชื่อและลัทธิในสมัยพุทธกาล GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 60
หน้าที่ 60 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงแนวคิดของปกุธกัจจายนะและสัญชัยเวลัฏฐบุตรในสมัยพุทธกาล ความเชื่อของปกุธกัจจายนะเกี่ยวกับลัทธิ ‘นัตถิกวาทะ’ ที่มองว่ามีสภาวะ 7 กองที่ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยใด ๆ อธิบายว่าความตายและการเกิดใหม่เป็นสภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนนักปรัชญาอย่างสัญชัยเวลัฏฐบุตรมีบทบาทที่น่าสนใจในแนวคิดทางศาสนาในยุคนั้น โดยทั้งสองคนแสดงถึงความแตกต่างในการมองโลกและถือครองความเชื่อที่มีผลต่อการพัฒนาความคิดทางปรัชญาในสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล.

หัวข้อประเด็น

-ปกุธกัจจายนะ
-สัญชัยเวลัฏฐบุตร
-นัตถิกวาทะ
-ลัทธิทางศาสนา
-ความเชื่อในสมัยพุทธกาล
-สังคมอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตามธาตุไฟ ธาตุลมก็จะไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลาย จะหามเขาไปยังป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจสีนกพิราบ สิ่งที่ได้จากการเซ่นสรวงคือขี้เถ้าเท่านั้น ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกพูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะ เมื่อกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น ตายแล้วเป็นอันดับสนิทไม่มีการเกิดอีก 3.2.4. ปกุธกัจจายนะ เล่ากันว่าปกุธกัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในวัยเด็กมีความสนใจทางศาสนา เป็นอย่างยิ่ง เมื่อโตขึ้นจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรม เมื่อคิดว่าตนบรรลุธรรมแล้ว ก็ตั้งตัว เป็นอาจารย์สั่งสอนประชาชน ปกุธกัจจายนะเป็นผู้ห้ามน้ำเย็นแม้จะถ่ายอุจจาระก็ไม่ใช้น้ำเย็นล้างเขาใช้เฉพาะน้ำร้อน หรือน้ำข้าวเท่านั้น การเดินผ่านแม่น้ำหรือเดินลุยแอ่งน้ำบนถนนถือว่าศีลขาด เมื่อศีลขาด เขาจะก่อทรายทำเป็นสถูปแล้วอธิษฐานศีล จากนั้นจึงค่อยเดินต่อไป ลัทธิของปกุธกัจจายนะจัดอยู่ในประเภท “นัตถิกวาทะ” หมายถึง ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยเช่นเดียวกับลัทธิของมักขลิโคสาล ดังที่ปกุธกัจจายนะกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูใน สามัญญผลสูตรว่า สภาวะ 7 กอง คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ และชีวะ สภาวะ เหล่านี้ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำไม่มีใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือ ทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดีไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น บุคคลจะเอาศาสตราอย่างคม ตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใคร ๆ เป็นแต่ศาสตราสอดเข้าไปตามช่องแห่งสภาวะ 7 กอง เหล่านี้เท่านั้น คำสอนของปกุธกัจจายนะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัสสตทิฏฐิ คือ เห็นว่าโลกเที่ยง ซึ่งเป็นคำสอนที่ตรงข้ามกับ “อุจเฉทวาทะ” คือ ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วขาดสูญของอชิตเกส- กัมพล และตรงข้ามกับคำสอนในพระพุทธศาสนาด้วย 3.2.5 สัญชัยเวลัฏฐบุตร สัญชัยเวลัฏฐบุตรเป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระมหา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม 53 หน้า 171-172 * มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 18 หน้า 569 3 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม 53 หน้า 174-175 สังคม อินเดีย สมัย พุ ท ธ ก า ล DOU 51
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More