ข้อความต้นฉบับในหน้า
กระทั่งปัจจุบัน ส่วนพระพุทธศาสนามหายานและศาสนาพราหมณ์ค่อยๆซบเซาลงไปตั้งแต่บัดนั้น
ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรกัมพูชาอ่อนแอลงมาก ขณะเดียวกันช่วงนั้น
อาณาจักรอยุธยาของไทยซึ่งสถาปนาในปี พ.ศ. 1894 มีความเข้มแข็งขึ้น ได้เข้าโจมตีเมือง
พระนครของกัมพูชาและยึดได้สำเร็จในปี พ.ศ.1895 ต่อมาปี พ.ศ. 1974 ได้เข้ามาปล้น
ทำลายอีกครั้ง พระเจ้าพญายาตจึงสละพระนครในปี พ.ศ. 1975 แล้วเสด็จไปประทับที่พนมเปญ
ยุคพระนครที่เจริญรุ่งเรืองมากว่า 600 ปี (พ.ศ.1345-1975) จึงสิ้นสุดลง
ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 1975-ปัจจุบัน) เมื่อยุคพระนครสิ้นลงแล้ว กัมพูชาได้เมืองหลวงใหม่
อยู่ใกล้ทะเลสาบให้ชื่อว่า กรุงละแวก ยุคนี้พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ ประชาชนมีความ
เคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์ แม้จะมีมิชชันนารีต่างชาติมาเผยแผ่แต่ก็ไม่ได้ผล เช่น ในปี พ.ศ. 2109
ชาวโปรตุเกสชื่อ กาสปาร์ ดากรูซ เดินทางมากรุงละแวกแต่ต้องเดินทางกลับเพราะไม่อาจ
เปลี่ยนศาสนาชาวพื้นเมืองได้ เนื่องจากประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระสงฆ์อย่างสุดหัวใจ
กาสปาร์ ดากรูซ บอกว่า พระสงฆ์ประกอบขึ้นด้วยคนที่มีความสามารถในกัมพูชา
กว่า 1 ใน 3 หรือตามที่เขาประมาณก็นับจำนวนแสนรูป พระภิกษุเหล่านี้ได้รับความเคารพ
อย่างสูงจากประชาชนราวกับเป็นเทพเจ้าเป็นๆ ผู้ที่อ่อนอาวุโสกว่าในหมู่ภิกษุด้วยกัน ก็บูชา
ผู้อาวุโสกว่า เสมือนเทพเจ้า ไม่มีใครคัดค้านพระในเรื่องใด ๆ บางครั้งขณะที่ข้าพเจ้ากำลังนั่ง
เทศน์อยู่ ทันทีที่พระเหล่านั้นเดินผ่านมา (ชาวบ้าน) ก็พูดเปรยขึ้นว่า “นั่นก็ดีอยู่หรอก แต่ของ
เราดีกว่า” แล้วพวกเขาก็เดินหนีไปหมดทิ้งข้าพเจ้าไว้แต่ลำพัง
ในปี พ.ศ.2410 กัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2496
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ ต่อมาปี พ.ศ.2498 พระองค์ทรงสละราชสมบัติถวายแด่
พระราชบิดาคือ พระเจ้าสุรามฤต ส่วนพระองค์เองก้าวลงสู่วิถีชีวิตนักการเมือง ทรงตั้งพรรค
สังคมราษฎร์นิยมขึ้น และมีชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา
พระเจ้านโรดมสีหนุทรงนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับการเมืองโดยให้ชื่อว่า ทฤษฎี
พุทธสังคมนิยม (Buddhist Socialism) เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ที่เริ่มขยายเข้ามาในกัมพูชา
แต่ด้วยแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและความขัดแย้งจากภายใน จึงทำให้เกิดการรัฐประหาร
ขึ้นโดยนายพลลอน นอล ในปี พ.ศ. 2513 สงครามกลางเมืองจึงปะทุขึ้นตั้งแต่บัดนั้น
ชาวกัมพูชาต้องสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตไปนับล้านคน กว่าสงครามนี้จะยุติลงในปี พ.ศ.2534
1 พระรวี ธมฺมจิโต, ผลกระทบต่อสงครามกลางเมืองต่อพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา ระหว่าง
พ.ศ.2513-2534, 2549 หน้า 39-40
160 DOU
ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า