ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.2 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชีย
พระพุทธศาสนามีจุดกำเนิดที่ประเทศอินเดียทางตอนเหนือและเผยแผ่ไปยังนานา
ประเทศโดยรอบ บางประเทศนั้นพระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปถึงตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเฉพาะ
ประเทศที่มีพรมแดนติดกับอินเดีย เช่น ประเทศเนปาล เป็นต้น แต่ส่วนมากได้รับพระพุทธศาสนา
ครั้งแรกในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช จากสมณทูต 9 สาย ดังกล่าวแล้วในบทที่ 2 ประเทศต่างๆ
ในเอเชียเปิดรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาประสมประสานกับอารยธรรมเดิมของตน จนกลาย
เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของดินแดนนั้นๆ
ทวีปเอเชียมีประชากรราว 60% ของประชากรโลก มีเขตแดนติดต่อกับ 2 ทวีป คือ
ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป นอกจากนี้ ทวีปเอเชียยังรวมถึงเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย
และมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย แบ่งภูมิภาคออกเป็นส่วนตามทิศต่าง ๆ ดังนี้คือ เอเชียเหนือ
เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
(หรือตะวันออกกลาง)
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคก่อนนั้น พระภิกษุผู้เป็นธรรมทูตมักจะเดินทางไป
บนเส้นทางการค้าขายที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม (Silk Road) ซึ่งเป็นเส้นทางของขบวน
คาราวานในภูมิภาคเอเชียใต้ที่เชื่อมเมืองต่าง ๆ ระหว่างเอเชียไมเนอร์ไปถึงประเทศจีน
เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าสำคัญ อันได้แก่ เส้นไหม ผ้าไหม และเครื่องเทศ เป็นต้น
ในช่วง 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เส้นทางสายไหมเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของ
แหล่งอารยธรรมโบราณหลายแห่ง คือ อียิปต์โบราณ เมโสโปเตเมีย จีน โรมัน เปอร์เซีย และ
อินเดีย เส้นทางสายไหมมีทั้งทางบกและทางทะเล สำหรับทางบกมีอยู่ 2 สาย คือ
1. เริ่มต้นที่ประเทศจีน จากเมืองฉางอัน (Chang'an) ปัจจุบันเรียกชื่อซีอาน (Xi'an)
ซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในมณฑลชานสี (Shaanxi) ผ่านมณฑลกันซู (Kansu) มณฑลซินเจียง
(Xinjiang) ข้ามเทือกเขาพามีร์ (Pamir) สู่ประเทศอัฟกานิสถานและอิหร่าน
2. อีกเส้นทางหนึ่งจากตอนใต้ของประเทศรัสเซียเข้าสู่เอเชียกลางไปยังประเทศแถบ
ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เส้นทางนี้ยาวมากกว่า 10,000 กิโลเมตร เป็นเส้นทาง
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการค้าระหว่างประเทศจีน และประเทศในเอเชียกลาง
นักภูมิศาสตร์ใช้คำนี้น้อยมาก แต่โดยปกติหมายถึง รัสเซีย หรือเรียกอีกอย่างว่า ไซบีเรีย นักภูมิศาสตร์มักจะจัด
ดินแดนส่วนนี้ว่าอยู่ในส่วนของทวีปยุโรป ซึ่งจะกล่าวในบทถัดไป
112 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า