ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรมอญและการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 174
หน้าที่ 174 / 249

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอาณาจักรมอญที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 1600 โดยมีศูนย์กลางที่เมืองเมาะตะมะ และเรื่องราวการรวมสงฆ์ภายใต้พระเจ้าธรรมเจดีย์ในปี พ.ศ. 2015-2035 ซึ่งทำให้พระสงฆ์มีเอกภาพ การดีขึ้นของพระพุทธศาสนา และความสัมพันธ์กับชาวโปรตุเกสในพุทธศตวรรษที่ 21 ที่เข้ามาเผยแพร่ลัทธิโรมันคาทอลิก พร้อมทั้งการร่วมมือระหว่างพม่ากับมอญในการกำจัดอิทธิพลของชาวโปรตุเกส หลังจากนั้นอาณาจักรพม่าได้เติบโตจนถึงจุดสูงสุดในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง แต่หลังพระเจ้าบุเรงนองสวรรคต อำนาจของมอญก็เสื่อมถอยลงจนไม่สามารถกอบกู้เอกราชได้อีกในปัจจุบัน.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์อาณาจักรมอญ
-การรวมสงฆ์ในพม่า
-ความสัมพันธ์กับชาวโปรตุเกส
-การเจริญเติบโตของพระพุทธศาสนา
-การสูญเสียอำนาจของมอญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พุกามตั้งแต่ปี พ.ศ.1600 และสถาปนาราชวงค์ชานขึ้น มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ เมาะตะมะเป็นเมืองหลวงของมอญจนถึงปี พ.ศ. 1912 จึงย้ายไปยังหงสาวดี ในสมัย พระเจ้าธรรมเจดีย์ (พ.ศ.2015-2035) อาณาจักรมอญเจริญสูงสุด ทรงรวมสงฆ์ให้เป็นหนึ่ง เดียวกัน ซึ่งแต่เดิมแตกแยกเป็น 6 คณะ ทรงให้คณาจารย์ 6 สำนักมาประชุมกัน ทรงขอร้อง ให้ไปอุปสมบทใหม่ในลังกาเพื่อให้เกิดความเสมอภาค คณะสงฆ์ก็เห็นชอบด้วยจึงเดินทางไป อุปสมบทใหม่ที่ลังกา โดยมีพระคณาจารย์ 22 รูป พระอนุจรอีก 22 รูป เมื่อกลับมาสู่เมืองหงสาวดีแล้วพระเจ้าธรรมเจดีย์ก็ประกาศราชโองการให้พระสงฆ์ทั่ว แผ่นดินสึกให้หมด แล้วบวชใหม่กับคณะสงฆ์ที่บวชจากลังกา โดยเรียกคณะใหม่ว่า คณะกัลยาณี ในครั้งนั้นมีพระบวชในคณะกัลยาณีถึง 15,666 รูป คณะสงฆ์เมืองหงสาวดีจึงเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่หลังจากพระองค์สวรรคตแล้วสงฆ์ก็แตกแยกกันอีก ในพุทธศตวรรษที่ 21 นี้ (พ.ศ. 2001-2100) ชนชาติโปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับ ประเทศพม่า มีชาวโปรตุเกสคนหนึ่งได้ช่วยพระเจ้ายะไข่ปราบกบฏ จนมีความดีความชอบ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสีเรียม จึงถือโอกาสเผยแพร่ลัทธิโรมันคาทอลิก และเบียดเบียน พระพุทธศาสนา เช่น ริบทรัพย์สมบัติของวัด ห้ามประชาชนใส่บาตร พระสงฆ์ต้องลี้ภัยไปกรุง อังวะเพื่อร้องทุกข์ ในที่สุดพม่ากับมอญได้ร่วมมือกันกำจัดพวกโปรตุเกส จับตรึงไม้กางเขนตาย หลายคน หลังยุคพระเจ้าธรรมเจดีย์แล้ว ในปี พ.ศ.2094 หงสาวดีก็เสียแก่พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กษัตริย์พม่า อาณาจักรพม่ารุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยบุเรงนอง ทรงขยายอาณาจักรออกไป กว้างขวางจนได้ชื่อว่าผู้ชนะสิบทิศ มีประเทศราชทั่วสุวรรณภูมิ คือ อังวะ แปร เชียงใหม่ อยุธยา ยะไข่ ล้านช้าง และหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวง ทรงครองราชย์อยู่ได้ 30 ปี สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2124 เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน แต่ไม่มีอำนาจเหมือน พระบิดา เมืองขึ้นต่าง ๆ จึงประกาศตัวเป็นอิสรภาพรวมทั้งไทยด้วย พวกมอญได้นิมนต์ พระภิกษุชาวกะเหรี่ยงรูปหนึ่งชื่อว่า พระสะล่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางเวทมนตร์คาถา เชิญให้สึกออกมาคิดแผนการไล่พม่าจนสำเร็จ และได้ทำพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองนคร หงสาวดีในปี พ.ศ. 2283 มีพระนามว่า พระเจ้าสทิงทอพุทธเกติ ทรงแผ่อิทธิพลที่เมืองตองอู และเมืองแปรได้สำเร็จ แต่เรื่องอำนาจอยู่เพียง 7 ปีเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2300 ก็ได้สูญสิ้นอำนาจ ให้แก่พม่าอีก และตั้งแต่นั้นมอญก็ไม่มีโอกาสกอบกู้เอกราชอีกเลยตราบกระทั่งปัจจุบัน พระพุทธศาสนาในเอเชีย DOU 165
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More