การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในตะวันตก GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 191
หน้าที่ 191 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในตะวันตกเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยมีนักปรัชญาตะวันตกหลายท่าน เช่น อาร์เธอร์ โชเป็นเฮาเออร์ ที่ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชาวตะวันตก การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษของศ.ริส เดวิดส์ยังได้เพิ่มการรับรู้ การแพร่หลายของนิกายมหายานในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นต่อชาวตะวันตก และสถิติการค้นหาข้อมูลใน Google ที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานิกายมหายานได้รับความสนใจมากกว่านิกายเถรวาท โดยมีตัวเลขที่สูงกว่าอย่างมาก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงผลงานของเซอร์เอดวิน อาร์โนลด์ และดร.ดี ที ซูสุกิ ที่มีบทบาทในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในตะวันตก

หัวข้อประเด็น

-ประวัติการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
-นิกายเถรวาท
-นิกายมหายาน
-ความสนใจของชาวตะวันตก
-การแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักในการดำเนินชีวิตแต่ไม่ได้ประกาศตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน พระพุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณศตวรรษที่ 19 นี้เอง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษปราชญ์ตะวันตกหลายท่านได้ผลิตตำราทาง พระพุทธศาสนาออกมาเผยแพร่ เช่น อาร์เธอร์ โชเป็นเฮาเออร์ ชาวเยอรมันผู้แต่งตำรายกย่อง พระพุทธศาสนาไว้อย่างสูงส่ง หนังสือของเขาสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา แก่ชาวตะวันตกจำนวนมาก ศ.ริส เดวิดส์ ชาวอังกฤษ ผู้ก่อตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ ได้แปล พระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาอังกฤษออกเผยแพร่มากมาย ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์ ปราชญ์ชาวอเมริกันผู้เผยแพร่หนังสือ Controversy at Panadura, Or, Panadura Vadaya ซึ่งเป็นบันทึกการโต้วาทีเรื่องพระพุทธศาสนากับคริสต์ศาสนา ระหว่างท่านคุณา นันทเถระกับนักบวชคริสต์ นอกจากนี้ ชาวตะวันตกจำนวนมากรู้จักพระพุทธศาสนาจากผลงานของ เซอร์เอดวิน อาร์โนลด์ ผู้เขียนหนังสือประทีปแห่งเอเชียว่าด้วยพุทธประวัติซึ่งนิยมอ่านกันมากในตะวันตก โดยมีสถิติการพิมพ์กว่า 150 ครั้ง (นับถึงปี พ.ศ.2470) พระพุทธศาสนาในตะวันตกช่วงนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นนิกายเถรวาท ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่นักวิชาการและผู้สนใจศึกษาจากการ อ่านตำรา โดยมากจะอยู่ในประเทศอังกฤษและเยอรมนี ทั้งสองประเทศนี้มีปราชญ์เถรวาทอยู่ มากมาย พระพุทธศาสนายุคนี้จึงไม่เป็นที่รู้จักของพลเมืองทั่วไปในตะวันตกเท่าที่ควร ต่อมาในศตวรรษที่ 20 เมื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายานเข้าไปเผยแพร่มากขึ้น ด้วยความมีเสน่ห์เรียบง่ายและหลากหลายในนิกายต่าง ๆ ของมหายาน ได้สร้างความสนใจแก่ ชาวตะวันตกจำนวนมากทั้งพลเมืองทั่วไปและนักวิชาการ แม้จะเข้าไปหลังแต่กลับได้รับความ นิยมมากกว่าเถรวาท จากการค้นหาข้อมูลด้วยระบบกูเกิล (Google) เฉพาะมหายานนิกาย เซนอย่างเดียวพบว่า มีคำว่า Zen อยู่ถึง 74,400,000 รายการ ในขณะที่นิกายเถรวาทมีคำว่า Theravana อยู่เพียง 1,390,000 รายการเท่านั้น ต่างกันถึง 50 กว่าเท่าหากรวมมหายาน นิกายอื่นด้วยคงต่างกันนับ 100 เท่า ข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้วัดได้อย่างหนึ่งว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นที่สนใจของ ชาวโลกมาก ไม่ว่าจะเป็นนิกายรินไซเซนจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งดร.ดี ที ซูสุกิ เป็นผู้บุกเบิก 3 1 ศตวรรษที่ 19 คือ ค.ศ.1801-1900 หรือ พ.ศ.2344-2443. 2 ศตวรรษที่ 20 คือ ค.ศ.1901-2000 หรือ พ.ศ.2444-2543. Google. (2549) zen, theravana. (ออนไลน์) 182 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More