การศึกษาและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 112
หน้าที่ 112 / 249

สรุปเนื้อหา

ผู้บริหารการคณะสงฆ์มักเน้นการส่งเสริมการศึกษาในด้านพระปริยัติธรรม แม้จะเห็นความสำคัญของธรรมปฏิบัติ แต่การสนับสนุนทำได้ในขอบเขตจำกัด การศึกษาในยุคแรกมุ่งเน้นการเข้าใจพุทธพจน์เพื่อปฏิบัติ แต่ต่อมาเริ่มมีการกล่าวถึงอภิปรัชญา โดยบางคนพยายามใช้ทฤษฎีทางตรรกศาสตร์ในการพิสูจน์แนวคิดทางพระพุทธศาสนา ส่งผลให้เกิดความคิดที่แตกต่างและพัฒนานิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา แม้แนวคิดของนักทฤษฎีมีความลึกซึ้ง แต่ก็สร้างความขัดแย้งและทำให้หลักคำสอนซับซ้อนจนไม่เข้าใจในชาวพุทธทั่วไป

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-การปฏิบัติธรรม
-นักทฤษฎีในพระพุทธศาสนา
-อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา
-ความแตกแยกในหมู่ชาวพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อผู้บริหารการคณะสงฆ์เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านปริยัติธรรม ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ การส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์จะเน้นหนักในด้านพระปริยัติธรรมเป็นหลักเพราะเป็นสิ่งที่คุ้นเคย และชำนาญ แม้จะเห็นความสำคัญของธรรมปฏิบัติ แต่เมื่อตนไม่คุ้นเคย ไม่มีความชำนาญ การสนับสนุนก็ทำได้ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น พระภิกษุสงฆ์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักได้รับการฝึกอบรม ในด้านพระปริยัติธรรมเป็นหลัก ส่วนธรรมปฏิบัติก็ค่อย ๆ ลดน้อยถอยลง การศึกษาพระปริยัติธรรมในยุคแรก ๆ ก็ศึกษาเพื่อเน้นให้เข้าใจในพุทธพจน์คำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำมาใช้ในการประพฤติปฏิบัติ แต่ต่อมาเมื่อศึกษามากเข้าๆ ก็ มีพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นนักคิด นักทฤษฎีจำนวนหนึ่ง ทนการท้าทายจากนักคิดนักปรัชญาของ ศาสนาอื่น ๆ ไม่ได้ เมื่อถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องอภิปรัชญา เช่น โลกนี้โลกหน้าว่ามีจริงหรือไม่ จิตมีการรับรู้ได้อย่างไร โลกเป็นอยู่อย่างไร มีจริงหรือไม่ เป็นต้น จึงพยายามหาเหตุผลทางทฤษฎี ตามแนวคิดในทางพระพุทธศาสนาและใช้การให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์มาอธิบายปัญหาเหล่านี้ ทั้ง ๆ ที่คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เพราะถือว่าไม่เกิด ประโยชน์มีแต่จะเป็นเหตุให้ถกเถียงทะเลาะเบาะแว้งกัน ทรงอบรมสั่งสอนแต่ในสิ่งที่นำไปสู่ การขัดเกลากิเลส มุ่งสู่พระนิพพาน ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นแล้วผู้ปฏิบัติก็ย่อมจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้เอง หลักธรรมในพระพุทธศาสนา เมื่อปฏิบัติจนเข้าถึงแล้ว ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นตรงกัน เป็น ภาวนามยปัญญา (ความรู้แจ้งที่เกิดจากความเห็นแจ้ง) แต่เมื่อพยายามพิสูจน์ด้วยความคิด ทางตรรกศาสตร์ ด้วยจินตมยปัญญา (ความรู้คิด) ไม่ได้รู้แจ้งด้วยตนเองเพราะไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีความคิดแตกต่างหลากหลาย ผลก็คือนักทฤษฎีของพระพุทธศาสนาเองก็มีความเห็น ไม่ตรงกัน ทะเลาะถกเถียงกันเอง เกิดเป็นแนวคิดของสำนักต่าง ๆ และแตกตัวเป็นนิกายต่าง ๆ ในที่สุด” มีนักทฤษฎีในพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น นาคารชุน อสังคะ วสุพันธุ์ ทิคนาคะ ภาววิเวก ธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ เป็นต้น แนวคิดของพระนักทฤษฎีเหล่านี้มีความลึกซึ้งมาก จนแม้นักวิชาการทางตะวันตก ปัจจุบันมาเห็นเข้ายังตื่นตะลึง แต่ผลที่เกิดก็คือ เกิดความขัดแย้งแตกแยกในหมู่ชาวพุทธ และ พระพุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาที่มีหลักคำสอนสลับซับซ้อนจนชาวบ้านฟังไม่เข้าใจประหนึ่ง ว่าพระพุทธศาสนากลายเป็นศาสนาของพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่ก็มีพระภิกษุสงฆ์เพียงจำนวน น้อยที่รู้เรื่อง และก็ยังคิดเห็นไม่ตรงกันอีก ส่วนชาวพุทธทั่วไปกลายเป็นชาวพุทธแต่ในนาม Harvey, Peter. An Introduction to Buddhism, 2000 p. 73-75 * Hirakawa, Akira. History of Indian Buddhism, 1994 p. 32-300 พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น อินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 103
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More