ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวถึงพรหมันว่า “มีพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดอยู่เพียงหนึ่งเดียวคือพรหมัน
(Brahman) ทุกสิ่งแยกตัวมาจากพรหมัน และจะกลับไปรวมกับพรหมันอีก บุคคลคือชีวาตมัน
หรืออาตมัน (Atman) ซึ่งมีธรรมชาติเหมือนพรหมันแต่แยกมาอยู่ในตัวบุคคล บุคคลจะต้อง
พยายามด้วยการประกอบพิธีกรรมจนถึงขั้นบรรลุโมกษะ (Moksha) หรือความหลุดพ้น ก็จะ
กลับไปรวมกับพรหมัน ขณะเมื่อยังรวมกับพรหมันไม่ได้ ก็จะเวียนว่ายตายเกิดไปจนกว่าจะ
กลับไปรวมกับพรหมันได้ ชีวาตมันที่จะกลับไปสู่พรหมันได้นั้นจึงต้องเลือกกระทำแต่กรรมที่ไม่
ผูกพันกับโลก'
คำสอนเรื่อง “พรหมัน” นี้ถือเป็นหลักการสำคัญของคัมภีร์อุปนิษัทที่เชื่อมความ
สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพรหมัน มนุษย์กับเทพเจ้า และมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ตลอดจน
มนุษย์กับ สรรพสิ่งในจักรวาล โดยยืนยันว่า “เป็นไปไม่ได้เลยที่ชีวิตมนุษย์จะอยู่แยกไปอย่าง
เด็ดขาดจากความเป็นไปของจักรวาล เพราะมนุษย์ก็คือส่วนหนึ่งของจักรวาลนั่นเอง”
ปรัชญาการดำเนินชีวิตตามหลักอาศรม 4
ย้อนไปในยุคพราหมณะซึ่งพิธีบูชายัญได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ในยุคนั้น
พราหมณ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการประกอบพิธีกรรม จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นที่พึ่งทางจิตใจ
ของประชาชน เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนก็พากันไปหาพราหมณ์เพื่อให้ช่วยเปลื้องทุกข์
และไถ่บาปให้ เพราะถือว่าพราหมณ์เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเสมือนตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า
หน้าที่ของพราหมณ์จึงอยู่ที่การประพฤติเคร่งครัดอยู่ในพิธีกรรม และกระทำตนให้เป็นที่พึ่ง
ของประชาชนในทางด้านจิตใจเท่านั้น
คัมภีร์พระเวทในส่วนที่เรียกว่า อรัณยกะ (บทเรียนในป่า) ได้กล่าวถึงหลักการ
ดำเนินชีวิตของพราหมณ์ผู้บำเพ็ญตนเพื่อให้บรรลุประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์
ซึ่งเป็นขั้นเป็นตอนไปตามลำดับ เรียกว่าอาศรม 4 (Four Ashrams) ดังนี้
1) พรหมจารี (Brahmacharya : Student) แปลว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นวัยที่
ต้องศึกษาเล่าเรียน จะเริ่มทำพิธีเล่าเรียนเรียกว่า “อุปานยัน” แปลว่านำชีวิตเข้าสู่ความรู้ตั้งแต่
อายุ 8 ขวบ เบื้องแรกจะต้องให้พราหมณ์ผู้เป็นครูอาจารย์เป็นผู้สวมคล้องด้ายสายศักดิ์สิทธิ์
1 พีระพงศ์ สุขแก้ว, สู่พรหมัน: ตรีมูรติ “พรหม ศิวะ นารายณ์” 2548 หน้า 86.
* ประโยชน์หรือจุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์ 4 อย่าง ได้แก่ ธรรมะ (สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติทั้งทางศาสนา สังคม และ
ศีลธรรม) อรรถะ (ความมั่งคั่งสมบูรณ์ทางวัตถุ) กามะ (ความสุขและความรัก) และโมกษะ (ความหลุดพ้นจาก
วัฏจักรแห่งชีวิต)
สังคม อินเดีย ก่ อ น ยุ ค พุ ท ธ ก า ล DOU 33