ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทั้งสิ้น แตกต่างกันเพียงสภาวะแห่งการแสดงออกเท่านั้น โดยที่นิรมาณกายเป็นการเนรมิตตน
มาจากสัมโภคกาย และสัมโภคกายก็เป็นการเนรมิตตนมาจากธรรมกายซึ่งเป็นสิ่งที่ไร้รูป อัน
เป็นปรมัตถภาวะ ถือว่าเป็นสภาวะที่เป็นอมตะ และอยู่เหนือการอธิบายใด ๆ ในทางโลกียวิสัย
จะเห็นได้ว่า การอธิบายภาวะของพุทธเจ้าในรูปตรีกายเช่นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ
บอกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นกายมนุษย์นั้นเป็นเพียงภาคหนึ่งของธรรมกายอันเป็นอมตะ
ฉะนั้นการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไป จึงเป็นเพียงการนิรมาณกายย้อน
กลับคืนสู่สภาวะดั้งเดิมที่เรียกว่าสัมโภคกายเท่านั้น ซึ่งสัมโภคกายก็หาใช่อะไร หากแต่หมาย
ถึงภาคที่เป็นเทพของธรรมกายนั่นเอง ดังนั้นในทัศนะของมหายาน เวลานี้พระโคดมสัมมา
สัมพุทธเจ้าก็ยังไม่ได้สูญหายไปไหน แต่ทรงอยู่ในรูปสัมโภคกาย ณ ที่ใดที่หนึ่งในจักรวาลนี้
4. แนวคิดเรื่องพุทธเกษตร
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเชื่อว่า ในจักรวาลหนึ่งๆ จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
มากกว่าหนึ่งพระองค์ในเวลาเดียวกันไม่ได้ แต่ฝ่ายมหายานเชื่อต่างไปจากนี้ว่า ในจักรวาลอัน
เวิ้งว้างนี้ สามารถแบ่งเนื้อที่ออกเป็นส่วนย่อยลงไปอีกนับจำนวนไม่ถ้วน อาณาเขตย่อย ๆ ของ
จักรวาลแต่ละอาณาเขตนี้เรียกว่าพุทธเกษตร (Pure Land) ในหนึ่งพุทธเกษตรจะมีพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าประทับอยู่หนึ่งพระองค์ ดังนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในความเชื่อของมหายานจึง
สามารถอุบัติขึ้นในจักรวาลพร้อมกันได้มากกว่าหนึ่งพระองค์ เมื่อเป็นดังนี้ พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นเพื่อทำหน้าที่โปรดเวไนยสัตว์ในแต่ละจักรวาลทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
จึงมีจำนวนมากมายมหาศาลนับประมาณมิได้ดุจเมล็ดทรายในคงคานที
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในแต่ละพุทธเกษตร ไม่ว่าจะอยู่ในภาคสัมโภค
กาย หรือนิรมาณกาย ทั้งหมดล้วนแตกขยายออกมาจากธรรมกายอันเดียวกัน พระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ในแต่ละพุทธเกษตรอาจมีลักษณะและคุณสมบัติที่ผิดแผกกันตามความเหมาะสม
ในการโปรดสัตว์ในพุทธเกษตรนั้น ๆ แต่นั่นเป็นเพียงความแตกต่างภายนอกเท่านั้น โดย
เนื้อแท้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าล้วนมาจากธรรมกายเดียวกัน ดุจน้ำแม้จะอยู่คนละสถานที่ก็
ล้วนเป็นน้ำ ที่มีเนื้อแท้เป็นชนิดเดียวฉันนั้น
พุทธเกษตรแต่ละแห่ง แตกต่างกันตามบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประจำพุทธ
เกษตรนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดสมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีไว้มาก
สมภาร พรมทา, พุทธศาสนามหายาน นิกายหลัก, 2540 หน้า 141-142
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น อินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 87