ธรรมเนียมการสวดพระปริตรในสมัยพุทธกาล GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 162
หน้าที่ 162 / 249

สรุปเนื้อหา

ธรรมเนียมการสวดพระปริตรเริ่มต้นจากสมัยพุทธกาล ขณะที่เกิดภัยพิบัติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งให้สวดเพื่อปัดเป่าภัยต่าง ๆ รัชกาลที่ 3 มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยดูแลกิจการศาสนาอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้มีการบวชมากมายในกรุงเทพมหานครและพื้นที่พระราชอาณาจักร นอกจากนี้ ในสมัยนี้ยังเกิดนิกายธรรมยุตขึ้นจากการอุปสมบทใหม่ของพระวชิรญาณเถระ เน้นการบำรุงพระศาสนาอย่างจริงจัง

หัวข้อประเด็น

-พุทธศาสนา
-ธรรมยุต
-รัชกาลที่ 3
-ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
-วิวัฒนาการทางศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไพศาลทักษิณทุกคืน ธรรมเนียมการสวดพระปริตรนี้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อ ครั้งที่เมืองไพศาลีเกิดภัยพิบัติด้วยอหิวาตกโรคเป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสั่งให้พระ อานนท์เรียนรัตนสูตรว่าด้วย “ยงกิญจิ ฯลฯ” แล้วทำพระปริตรสวดขจัดปัดเป่าภัยต่าง ๆ ในเมืองไพศาลีให้มลายหายไป รัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีศรัทธา ต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง มีคำกล่าวว่า ไม่ว่าพระองค์จะประทับอยู่ ณ ที่ใด ไม่ว่าจะมี เหตุการณ์อันใดเกิดขึ้น พระองค์จะทรงระลึกถึงการบำรุงพระศาสนาไว้ก่อน พระองค์เสด็จทรง บาตรทุกวัน ทรงอาราธนาพระมาถวายธรรมเทศนาและบอกคัมภีร์ในวังเป็นประจำ พระองค์ ไม่โปรดละครในคือละครที่มีผู้หญิงแสดง แต่โปรดการทรงธรรม ในรัชกาลนี้มีการสร้างพระ ไตรปิฎกมากกว่ารัชกาลอื่นที่แล้วมาคือ มีถึง 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับรดน้ำเอก รดน้ำโท ทองน้อย ชุบย่อ และฉบับอักษรรามัญ ด้วยความที่พระองค์เอาใจใส่ต่อกิจการทางศาสนาเช่นนี้ จึงมี กุลบุตรออกบวชกันจำนวนมาก ตามบันทึกของชาวยุโรประบุว่า ในกรุงเทพมหานครมีภิกษุ สามเณร 10,000 รูป และทั่วพระราชอาณาจักรมี 100,000 รูป กำเนิดธรรมยุต ในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุตขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ ทรง ศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญชื่อ ชาย พุทธวํโส จึงทรงอุปสมบทใหม่กับคณะสงฆ์ มอญในปี พ.ศ.2372 แล้วตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ.2376 จากนั้นเสด็จมาประทับที่วัด บวรนิเวศวิหารซึ่งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติกนิกาย คณะสงฆ์เดิมนั้นถูกเรียกว่า มหานิกาย ก่อนสวรรคต พระองค์ตรัสสั่งเหล่าข้าราชบริพารเรื่องกิจการบ้านเมืองและศาสนาไว้ว่า “สงครามข้างญวนข้างพม่าเห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ชาวฝรั่ง ให้ระวังให้จงดีอย่าให้เสียทีเขา การงานสิ่งใดของเขาที่คิดว่าดี ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่านับถือเลื่อมใสไปทีเดียว ทุกวันนี้คิดจะสละห่วงใยให้หมด อาลัยอยู่แต่วัดสร้างไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุด ทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยบำรุง.... (เงินพระคลัง 4 หมื่นชั่ง) ขอสัก 1 หมื่นชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็น เจ้าของแผ่นดินช่วยบอกแก่เขา ขอเงินรายนี้ช่วยทะนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น ให้แล้วด้วย” ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา เล่ม 43 ข้อ 149 2 วอลเตอร์ เอฟ เวลลา, แผ่นดินพระนั่งเกล้า แปลโดย นิจ ทองโสภิต, 2514 หน้า 63. 3 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อครั้งยังผนวชอยู่ * เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ ร.3, 2505 หน้า 187-8. พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย DOU 153
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More