ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 185
หน้าที่ 185 / 249

สรุปเนื้อหา

ข้อมูลประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียกลางมีน้อย ส่วนใหญ่ได้แก่การค้นพบจากนักโบราณคดีรัสเซียในปี 2500 เช่น เมืองโบราณในอุซเบกิสถาน ได้แก่ สมารกันด์ บุขารา เทอร์เมซ และพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่ที่วัดอชินะเทเปในทาจิกิสถาน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบที่เกียอูร กาลาในเติร์กเมนิสถาน ซึ่งเผยให้เห็นศิลปะของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ การศึกษาได้พาถึงบทที่ 5 ซึ่งมีความสำคัญในการทบทวนและประเมินตนเองเพื่อศึกษาบทถัดไป

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
-การค้นพบทางโบราณคดี
-ภูมิภาคเอเชียกลาง
-ศิลปะพระพุทธศาสนา
-นิวยอร์กและการแยกตัวจากสหภาพโซเวียต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ข้อมูลประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียกลางนั้นมีอยู่ค่อนข้างน้อย จึงกล่าวถึง โดยรวม ๆ ไม่แยกบรรยายในแต่ละประเทศ หลักฐานความเจริญของพระพุทธศาสนาในแถบนี้ ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีรัสเซียเมื่อประมาณปี 2500 กว่าๆ เช่น ในปี พ.ศ.2504 กรม โบราณคดีรัสเซียได้ค้นพบเมืองโบราณทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง ณ อุซเบกิสถาน ซึ่ง กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ทางภาคใต้ติดกับอัฟกานิสถาน เช่น เมืองสมารกันด์ (Smarkand) เมืองบุขารา (Bukhara) เมืองเทอร์เมซ (Termez) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการค้นพบพระพุทธ รูปแกะสลัก มีพระอัครสาวกทั้งสองยืนเคียงข้างพระศาสดา” ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นนิกายเถรวาท และยังค้นพบพระพุทธรูปที่มีพระโพธิสัตว์ยืนเคียงข้าง ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นนิกายมหายาน ในปี พ.ศ.2504 ปีเดียวกันนี้เอง นักโบราณคดีชาวรัสเซียยังค้นพบพระพุทธรูปนอน องค์ใหญ่ มีขนาดความยาว 14 เมตร สูง 2 เมตรครึ่ง ที่วัดอชินะเทเป (Ajina-tepe) อยู่ข้าง เชิงเขาทางทิศใต้ของประเทศทาจิกิสถาน และยังได้พบพระพุทธรูปองค์เล็กอีกหลายร้อยองค์ บางองค์อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ชาวบ้านเรียกภูเขานี้ว่า ภูเขาบ้านแห่งพระพุทธเจ้าพันองค์ (Mountain of one thousand Buddha's Houses) นักโบราณคดีเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ สร้างราวปี พ.ศ.800 ในยุคที่กุสาณะปกครองเอเชียกลาง ปัจจุบันได้ตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ กรุงดูชานเบ (Dushanbe) ประเทศทาจิกิสถาน นักโบราณคดีชาวรัสเซียยังได้เข้าขุดค้นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งชื่อว่า เกียอูร กาลา (Giaur Kala) ในปี พ.ศ.2505 ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเติร์กเมนิสถาน พบเศียรพระพุทธ รูปขนาดใหญ่ราวเมตรเศษฝังอยู่ใต้ดิน นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ จำนวนมากกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วบริเวณที่ขุดโดยรอบ ปัจจุบันพระพุทธรูปได้ถูกเก็บรักษาไว้ ในพิพิธภัณฑ์ และยังพบสถูป 2 แห่งที่เมืองเมิฟ (Merv) ด้วย กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 5 พระพุทธศาสนาในเอเชีย จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 5 และกิจกรรม ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 5 แล้วจึงศึกษาบทที่ 6 ต่อไป 1 ขณะนั้น อุซเบกิสถานและประเทศอื่น ๆ ยังไม่ได้แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต เพิ่งแยกตัวออกมาหลังจาก สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี พ.ศ.2534 * เป็นพระพุทธรูปศิลปะคันธาระขุดได้ที่ วัดฟายาซเทปา ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ 176 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More