ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและอิทธิพลของศาสนาฮินดู GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 77
หน้าที่ 77 / 249

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจภัยคุกคามจากศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามซึ่งส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา ในบทความอธิบายว่าชาวพุทธต้องมีความรู้และความเข้าใจในคำสอนอย่างถูกต้องเพื่อความมั่นคงของศาสนา และชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อม โดยมีการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญและการเผยแผ่ของศาสนามหายานและเถรวาท เช่น อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และการเข้าใจบ่อเกิดคำสอนที่แตกต่างกัน。นักเรียนจะเข้าใจถึงความสำคัญของการรักษาพุทธศาสนาให้มั่นคงต่อไป และบทบาทของชาวพุทธในสังคมในปัจจุบัน。

หัวข้อประเด็น

-ภัยจากศาสนาฮินดู
-ภัยจากศาสนาอิสลาม
-ความรู้ในพระพุทธศาสนา
-การเผยแผ่ศาสนามหายาน
-ความสำคัญของชาวพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สาเหตุที่สำคัญเสียยิ่งกว่าสาเหตุภายนอก คือ ภัยจากการผสมกลมกลืนของศาสนาฮินดูซึ่งเป็น คู่แข่งสำคัญของพระพุทธศาสนาตลอดมา รวมถึงภัยจากศาสนาอิสลามที่เข้าทำลายล้าง พระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน 5. ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาจะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญคือ ชาวพุทธ ต้องเป็นชาวพุทธที่แท้จริง มีความรู้ความเข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง จึงจะนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตจริง และที่สำคัญคือชาวพุทธจะต้องมีความสามัคคีกัน เว้นจากการให้ร้ายกัน พระพุทธศาสนาจึงจะมั่นคงอยู่ได้อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถสรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอินเดียภายหลังพุทธกาล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจบ่อเกิดของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มาของแนวคิดคำสอน ระบบความเชื่อและการปฏิบัติของฝ่ายมหายานที่ต่างไปจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ตลอดจนวิธีประยุกต์คำสอนเพื่อการเผยแผ่ศาสนาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของฝ่ายมหายาน 3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีผลต่อพระพุทธศาสนา ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนทำให้พระพุทธศาสนาเข้าสู่ยุคเสื่อม 4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจสาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดียและสามารถ วิเคราะห์เหตุปัจจัยที่มีผลต่อความเสื่อมสูญหรือความมั่นคงของพระพุทธศาสนาได้ 5. เพื่อให้นักศึกษาซาบซึ้งถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาและตระหนักถึงหน้าที่ของ ชาวพุทธที่จะต้องช่วยกันธำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป 68 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More