ข้อความต้นฉบับในหน้า
การแบ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภทนั้น เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมมีตรีกาย หรือพระกาย 3 กาย กายที่หนึ่งเรียกว่า ธรรมกาย เป็น
ภาวะแห่งการรู้แจ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นกายที่เกิดขึ้นเอง อันหาเบื้องต้นและเบื้อง
ปลายมิได้ ธรรมกายนี้ก็คือ องค์พระอาทิพุทธะ ส่วนกายที่สองเรียกว่า สัมโภคกาย คือกายที่
เป็นทิพย์ มีรัศมีรุ่งเรือง เกิดขึ้นมาในรูปของโอปปาติกะ ซึ่งกายนี้ก็คือ พระธยานิพุทธะ และ
กายที่สามเรียกว่า นิรมาณกาย เป็นกายที่เนรมิตบิดเบือนขึ้นให้อยู่ในรูปของร่างกายมนุษย์
ซึ่งก็ได้แก่พระมานุษพุทธะหรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสามประเภทนี้
ความจริงแล้วถือว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพียงแต่แสดงตนออกมาในภาวะที่แตกต่างกันออก
ไป เพื่อความเหมาะสมต่อการสั่งสอนเวไนยสัตว์ในแต่ละสถานการณ์
ดังนั้น พระมานุษิพุทธเจ้าในฝ่ายมหายาน อันได้แก่ พระทีปังกรพุทธเจ้า พระกัสสป
พุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า พระเมตไตรยพุทธเจ้า และพระไภสัชชคุรุพุทธเจ้า ทุกพระองค์จึง
ล้วนมีพระกายเป็น 3 หรือมีภาวะแตกต่างกันเป็น 3 ในพระองค์เดียว ซึ่งจะเห็นได้จากพระ
ประธานในโบสถ์ของมหายาน ที่จะต้องมี 3 พระองค์เสมอ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าพระพุทธเจ้า
มี 3 องค์ แต่หมายถึงพระมานุษิพุทธะหรือพระศากยมุนีพุทธะพระองค์เดียว แต่มีพระกาย
เป็น 3 นี้เป็นลักษณะพระรัตนตรัยของมหายาน
3. แนวคิดเรื่อง “ตรีกาย”
หลักตรีกายเป็นหลักสำคัญของมหายานที่อธิบายว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี 3 กาย
เป็นหลักร่วมกันของทุกนิกาย พระสูตรต่าง ๆ ก็จะพูดถึงตรีกายอยู่เสมอ
ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจว่า แรกเริ่มพุทธศาสนามหายานดั้งเดิมมีหลักคำสอนเรื่อง
กายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ต่างจากเถรวาท กล่าวคือ ถือกันว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีเพียง
2 กาย คือ
- นิรมาณกาย หรือที่ฝ่ายเถรวาทเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รูปกายอันหมายถึงทั้งกายหยาบ
และละเอียดเหมือนสัตวโลกทั่วไป
-
ธรรมกาย คำว่า ธรรมกายในวรรณกรรมมหายานดั้งเดิม มีความหมาย 2 ประการ
คือ ประการแรก ธรรมกายเป็นกายแห่งธรรม ประมวลข้อปฏิบัติ คำสั่งสอน ซึ่งช่วยเสริมพระบารมี
'เสถียร พันธรังษี, พุทธศาสนามหายาน, 2543 หน้า 70
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น อินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 85