ข้อความต้นฉบับในหน้า
ด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ.2455 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียนเป็นครั้งแรก
ต่อมาอีกหนึ่งปีคือใน พ.ศ.2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด
ให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. และในปี พ.ศ.2462-2463 ทรงโปรดให้พิมพ์คัมภีร์
อรรถกถาพระไตรปิฏก อรรถกถาชาดกและคัมภีร์อื่น ๆ เช่น วิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา เป็นต้น
หลักสูตรนักธรรมที่เรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี้ทรงโปรดให้จัดการศึกษาขึ้นในปี พ.ศ.2469 ก่อน
หน้านั้นเรียกว่า “องค์ของสามเณรรู้ธรรม” ซึ่งมีการสอบครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ.2454
รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรด
ให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ของประเทศไทยขึ้นในระหว่าง พ.ศ.2468-2473
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วทรงให้จัดพิมพ์
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐชุดละ 45 เล่ม จำนวน 1,500 ชุด พระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ
ประมาณ 450 ชุด ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติของประเทศสยาม เพราะประเทศพุทธศาสนาอื่นๆ
ในครั้งนั้นยังไม่มีประเทศใดทำได้ ปี พ.ศ.2471 กระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการ
ในปัจจุบันได้จัดหลักสูตร “ธรรมศึกษา” เพื่อเปิดโอกาสให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรมอย่าง
เป็นทางการเป็นครั้งแรก
รัชกาลที่ 8 (พ.ศ.2477-2489) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย 2 ประเภท คือ
1. พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด 80 เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎก
ภาษาไทย แต่เสร็จสมบูรณ์หลังจากสิ้นรัชกาลพระองค์ไปแล้วคือในปี พ.ศ.2500 เพื่อฉลองใน
โอกาส 25 พุทธศตวรรษ
2. พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ลงใบลาน แบ่งเป็น 1,250 กัณฑ์
เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2492
ในปี พ.ศ.2484 รัฐบาลออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เพื่อให้การปกครอง
คณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่ ถัดมาอีก 4 ปี คือในปี
พ.ศ.2488 มหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2436 ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์
ชื่อ “สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย”
รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2489 - ปัจจุบัน) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดชมหาราช มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญระดับประถมปลาย และ
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย DOU 155