ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในกัมพูชา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 168
หน้าที่ 168 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอเกี่ยวกับการพัฒนาของพระพุทธศาสนาในกัมพูชา ตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ที่นำพระพุทธศาสนามหายานมาเป็นศาสนาของรัฐ จนถึงการสร้างปราสาทนครวัดและนครธมโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาและพระพุทธศาสนา พร้อมข้อมูลสถิติและรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างและการสถาปนา ศูนย์การศึกษาในสมัยนั้นซึ่งสนับสนุนพระพุทธศาสนาในกัมพูชา

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในกัมพูชา
-ราชวงศ์และกษัตริย์
-นครวัดและนครธม
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-บทบาทของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่ทั้งสองศาสนาก็อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ครั้นมาถึงรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 1545-1593 พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ที่ยกพระพุทธศาสนามหายานเป็นศาสนาของรัฐอย่างเป็นทางการ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ. 1656-1693 ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์และ สร้างปราสาทนครวัดขึ้นเพื่อบูชาพระวิษณุ ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยน ให้เป็นวัดในศาสนาพุทธ นครวัด ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ หรือเสียมเรียบ จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก มีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร ใช้หิน ทั้งหมด 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้ช้างกว่า 40,000 เชือกและแรงงานคนนับ 100,000 คน ในการขนหินและชักลากหิน นครวัดมีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน เวลาในการ สร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปีในการแกะสลัก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ในปี พ.ศ. 1724 พระองค์มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดใน ประวัติศาสตร์กัมพูชา ทรงสร้างนครธมขึ้นเป็นราชธานี ทรงเจริญจริยวัตรตามพระเจ้าอโศก- มหาราชและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ทรงสร้างปราสาทและพระพุทธรูป 798 องค์ เพื่อ ประดิษฐานทั่วราชอาณาจักร ทรงสถาปนาปราสาทตาพรหมหรือวัดบุรีราชมหาวิหารเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระ มหาเถระเป็นศาตราจารย์ใหญ่อยู่ 18 องค์ และอาจารย์รองลงมาถึง 2,740 องค์ มีอุบาสก ช่วยงาน 2,232 คน อุบาสิกา 615 คน ราษฎรผู้มาจำศีลหรือมาศึกษาธรรมระยะสั้นและ ระยะยาว 12,640 คน และกลุ่มอื่นๆ อีก 66,625 คน รวมทั้งหมดเป็น 79,265 คน ซึ่งนับ รวมชาวพม่าและจำปาที่มาพักศึกษาในที่นี้ด้วย ภายในวัดมีบ้านพัก(กุฏิ) ที่สร้างด้วยหิน จำนวน 566 แห่ง สร้างด้วยอิฐ 288 แห่ง มีพระภิกษุจำนวน 439 รูป มารับภัตตาหารทุกวัน ในพระราชวัง นอกจากนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงให้พระราชกุมารคือพระตามลินทะไปศึกษาพระ พุทธศาสนาที่ลังกา และผนวชที่วัดมหาวิหารแห่งเกาะลังกา ซึ่งขณะนั้นพระพุทธศาสนา เถรวาทในศรีลังกากำลังเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของการศึกษาสงฆ์ ต่อมาเมื่อพระกุมาร กลับมากัมพูชาแล้ว ทรงทำให้นิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองเป็นศาสนาประจำชาติของกัมพูชามา 1 พระรวี ธมฺมรโต, ผลกระทบต่อสงครามกลางเมืองต่อพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา ระหว่าง พ.ศ.2513-2534, 2549 หน้า 33-34 พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย DOU 159
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More