ข้อความต้นฉบับในหน้า
เอส.ยูวารอฟ (S.Uvarov) ประธาน The Academy of Science กล่าวพรรณนาความสำคัญของ
ดินแดนตะวันออกไว้ว่า เป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมโลก ศาสนาทุกศาสนา ศาสตร์ทุกศาสตร์
ปรัชญาทุกลัทธิ ทวีปเอเชียเท่านั้นได้พิทักษ์ไว้ซึ่งของขวัญมหัศจรรย์แห่งการผลิตปรากฏการณ์
ทางศีลธรรมอันยิ่งใหญ่
การศึกษาปรัชญาตะวันออกค่อยๆ ดำเนินสืบต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2417 อิแวน
มินาเยฟ (Ivan Minayev) ผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งสถาบันรัสเซียตะวันออกคดีและ
พระพุทธศาสนาศึกษา ได้เดินทางไปศรีลังกา อินเดีย และเนปาล เพื่อศึกษาศาสนาต่าง ๆ ทาง
ตะวันออก อันได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาเชน และศาสนาฮินดู บันทึกการเดินทางของเขา
ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ให้ชาวรัสเซียศึกษาในหนังสือชื่อ Studies of Ceylon and India From the
Travel Notes of a Russian ต่อมาปี พ.ศ.2421 อิแวน มินาเยฟ ได้เดินทางไปประเทศพม่า
ซึ่งเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนายังมีชีวิตอยู่ เขาพบว่า คัมภีร์ทรงคุณค่าของพระพุทธศาสนา
ได้ถูกละเลยทอดทิ้งไว้ในวัดวาอาราม ในห้องสมุด ในบ้าน.... เขารวบรวมคัมภีร์มากหลายกลับ
ไปรัสเซีย เรื่องที่ทำให้เขาตื่นตระหนกขณะที่อยู่ในพม่าคือ มิได้มีการศึกษาคัมภีร์พระพุทธ
ศาสนาในพม่าเลย ความฉลาดอัจฉริยะรอบรู้ในภาษาบาลีของเขา ทำให้นักปราชญ์และภิกษุ
ชาวพม่ารวมทั้งชาวอังกฤษ พากันตื่นเต้นและประหลาดใจมาก
การศึกษาอินเดียคดีศึกษาและพระพุทธศาสนาในรัสเซียยุคอิแวน มินาเยฟ จึงถือว่า
รุ่งโรจน์มาก และได้รับการพัฒนาถึงขั้นสูงสุดในยุคไฟโอดอร์ สเชอบาร์ทสกอย (Fyodor
Scherbatskoy) ซึ่งเป็นศิษย์ของเขางานของปราชญ์ผู้นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคพุทธศาสตร์โลก
วรรณกรรมของเขาได้รับการจัดพิมพ์ในประเทศต่างๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่อง ไฟโอดอร์
สเชอบาร์ทสกอยมีความสนใจในตรรกวิทยาในพระพุทธศาสนามาก จึงเขียนหนังสือชื่อ Theory
of Knowledge and Logic According to Later Buddhists ขึ้นพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.2446
หนังสือเล่มนี้ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันในระดับนานาชาติ
ไม่กี่ปีต่อมา การเมืองในรัสเซียก็เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ ในปี พ.ศ.2460 พรรค
บอลเชวิค นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน ทำการปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ ซึ่งครั้งนั้นอยู่ในยุคของ
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เลนินได้จัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้น ผลจากการปฏิวัติกระทบต่อ
2
1 พันเอก (พิเศษ) นวม สงวนทรัพย์, เมธีตะวันตกชาวพุทธ เล่ม 2, หน้า 123
ช่วงนั้นอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าธีบอว์ (Thibow, ครองคราชย์ ปีพ.ศ.2421-2428) พระเจ้าธีบอว์ได้ประกาศ
สงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่ 3 ในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนั้นทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครอง
ดินแดนประเทศพม่าไว้ได้ทั้งหมด
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ตะวันตก DOU 199