ข้อความต้นฉบับในหน้า
อำนาจพระบารมีนั้นจะส่งผลให้พุทธเกษตรของพระองค์รุ่งเรืองมากกว่าพุทธเกษตรของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บำเพ็ญบารมีธรรมมาน้อยกว่า และพุทธเกษตรที่กล่าวกันว่าเป็น
พุทธเกษตรที่รุ่งเรืองที่สุด และเป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดาพุทธเกษตรทั้งหมด ก็คือสุขาวดี
พุทธเกษตรอันเป็นที่อยู่ของพระอมิตาภะ
คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าสุขาวดีเป็นชื่อหนึ่งของพระนิพพาน แต่ในความหมายของ
มหายาน สุขาวดีนั้นยังไม่ใช่นิพพาน เป็นเพียงพุทธเกษตรหนึ่งเท่านั้น แต่สุขาวดีพุทธเกษตร
ต่างจากพุทธเกษตรที่เราอาศัยอยู่นี้ เพราะเป็นสถานที่ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ไม่มีแม้แต่อบาย
ภูมิ จึงสมบูรณ์ด้วยสิ่งอำนวยความสุขนานาประการ อีกทั้งอายุของผู้ที่เกิดในดินแดนแห่งนี้ก็
ยาวนานมาก ฉะนั้นจึงคล้ายกับว่าเป็นสถานที่อยู่อันถาวรไป
แนวคิดเรื่องพุทธเกษตรนี้ เชื่อว่ามาจากทัศนะของฝ่ายมหายานที่มองว่า นิพพาน
ไม่ใช่สิ่งที่คนเราจะบรรลุได้ง่าย ๆ เป็นสิ่งที่อยู่ไกลเกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจะเอื้อมถึง นิพพาน
ที่ต้องบรรลุถึงด้วยการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาอย่างยิ่งยวด และต้องใช้เวลานาน จึงถูกปรับมา
ให้กลายเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการทำบุญ ความศรัทธาเชื่อมั่นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของพุทธเกษตรนั้น ๆ แล้วส่งผลให้ไปเกิดในดินแดนแห่งหนึ่ง เรียกว่าพุทธเกษตร ซึ่งมีเงื่อนไข
เอื้ออำนวยแก่การเข้าถึงนิพพานต่อไปโดยไม่ยากนัก
โดยเฉพาะผู้ที่ไปเกิดในสุขาวดีพุทธเกษตร ก็ย่อมจะมีโอกาสเข้าถึงนิพพานได้ง่ายกว่า
ผู้ที่เกิดในพุทธเกษตรอื่น ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะเข้าถึงนิพพานได้ภายในชาตินั้น แต่สำหรับผู้ที่เกิดใน
สุขาวดีพุทธเกษตรแล้ว ทุกคนย่อมเป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน คือจะต้องเข้าถึงนิพพานภายใน
ชาตินั้นทุกคน
5. แนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์
แนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ (Bodhisattva) ถือเป็นแกนกลางของคำสอนทั้งหมดใน
คัมภีร์มหายาน และเป็นอุดมคติอันสูงส่งที่มหายานมุ่งเน้น โดยแนวคิดนี้ได้แยกเป็นเอกเทศ
จากความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าอย่างชัดเจน กลายเป็นการบรรลุสภาพอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บรรลุ
เป็นผู้ประเสริฐ ที่มีหน้าที่สำคัญในการช่วยเหลือดูแลชาวโลก และกลายเป็นเหล่าเทพเจ้าที่
สถิตในสรวงสวรรค์
ในความเชื่อของมหายาน พระโพธิสัตว์จะมีความใกล้ชิดสรรพสัตว์มากกว่าพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า และสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้อย่างมากมาย จึงเป็นผู้ควรกราบไหว้บูชาและ
เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ พระโพธิสัตว์จึงมีลักษณะเป็นสื่อระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน
88 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระพุทธศาสนา