ข้อความต้นฉบับในหน้า
โดยสมบูรณ์ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2514
พระพุทธศาสนาเข้าสู่บังกลาเทศหลายยุคหลายสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ทั้งนี้
สังเกตได้จากวัฒนธรรมของชาวเบงกอลคล้ายคลึงกับชาวมคธ ในปี พ.ศ.243 พระเจ้าอโศก-
มหาราชเผยแผ่พระพุทธศาสนามายังดินแดนแห่งนี้ด้วย และในปี พ.ศ. 600 สมัยพระเจ้ากนิษก
มหาราช ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทินและเผยแผ่เข้ามาสู่บังกลาเทศเช่นกัน
หลังจากนั้นพระพุทธศาสนามหายานก็เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.1643-1843
พระพุทธศาสนาก็เสื่อมลง ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทแทน
ต่อมาในสมัยยะไข่” (มอญ) พระพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองมาก สมัยนั้น
จิตตะกองอยู่ภายใต้การดูแลคุ้มครองของยะไข่ มีพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากจาริกไปยัง
จิตตะกองและได้เผยแผ่สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานถึง 100 ปี ทำให้ชาวจิตตะกองนับถือ
พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาจนถึงทุกวันนี้ พระพุทธศาสนาในบังกลาเทศแบ่งนิกายออก
เป็น 2 นิกาย คือ
1. นิกายมาเถ หรือมหาเถรนิกาย เป็นนิกายเก่าแก่ ยึดหลักคำสอนดั้งเดิมหรือเถรวาท
มีพระภิกษุอยู่ประมาณ 40-55 รูป อยู่ที่ตำบลราอุชาน รางคุนยา โบวาลคลี และปาจาลาอิศ
2. นิกายสังฆราช นิกายนี้เกิดภายหลังนิกายมาเถ คือ นับย้อนไปประมาณ 100 กว่า
ปีที่ผ่านมานี้เอง มีพระสังฆราชเมธมหาเถระ เป็นผู้ให้กำเนิด มีพระภิกษุประมาณ 800 กว่ารูป
อาศัยอยู่ทั่วประเทศ
4. ประเทศศรีลังกา
ประเทศศรีลังกา (Sri Lanka) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยม
ประชาธิปไตยศรีลังกา (Democratic Socialist Republic of Sri Lanka) ได้รับผลกระทบจาก
การสู้รบระหว่างรัฐบาล และกบฏทมิฬอีแลมมายาวนาน เพิ่งมีข้อตกลงหยุดยิง เมื่อต้นปี
พ.ศ.2545 ศรีลังกามีเมืองหลวงชื่อ ศรีชเยวรเทเนปุระคอตเต เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ โคลัมโบ
มีประชากรประมาณ 20,743,000 คน (พ.ศ. 2548) นับถือศาสนาพุทธประมาณ 68%
ฮินดู 18% และคริสต์ศาสนา 7-8% โดยส่วนใหญ่ผู้ที่นับถือฮินดูนั้นเป็นชาวทมิฬ
ส่วนคริสเตียนเป็นชาวโปรตุเกสและฮอลแลนด์
"สมัยยะไข่ เป็นช่วงที่ชาวมอญมีอำนาจปกครองเหนือดินแดนพม่าในยุคสมัยนั้น
ฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้นำของกลุ่มสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา
Wikipedia (2549). Demographics of Sri Lanka. (ออนไลน์)
พระพุทธศาสนาในเอเชีย
DOU 117