ข้อความต้นฉบับในหน้า
1171 พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระนางทรงสละราชสมบัติออกผนวชเป็นภิกษุณี
โดยมอบภาระให้พระราชนัดดาพระนามว่า อุมายาโดะ (Umayado) ทำหน้าที่สำเร็จราชการแทน
เจ้าชายอุมายาโดะนี้ ต่อมาได้รับการขนานพระนามว่า โชโตกุ ไทชิ
เจ้าชายโชโตกุทรงยกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ทรงสร้างวัดประมาณ
400 วัด ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก ทรงนิพนธ์อรรกถาพระสูตรสำคัญของมหายาน 3 สูตร คือ
สัทธรรมปุณฑริกสูตร วิมลเกียรตินิเทศสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ต้นฉบับลายพระหัตถ์
ยังคงรักษาอยู่จนถึงปัจจุบัน ทรงบัญญัติกฎหมายแห่งรัฐโดยยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
เพราะผลงานทางพระพุทธศาสนาที่ทรงทำไว้มากมาย เจ้าชายโชโตกุจึงได้รับฉายาว่า เป็น
พระเจ้าอโศกแห่งญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนาที่เจ้าชายโชโตกุทรงศรัทธาชื่อว่า เอกยาน มีธรรมกายเป็นจุดหมาย
มีคำสอนประสานกันระหว่างมหายานและเถรวาท ไม่แบ่งแยกกันระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์
ทุกคนสามารถปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องออกบวชหรือปลีกวิเวก เมื่อเจ้าชาย
โชโตกุสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.1165 พสกนิกรต่างเศร้าโศกเสียใจอย่างสุดซึ้ง เหล่าพุทธบริษัท
จึงสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าพระวรกายพระองค์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณความดีของพระองค์
ยุคนารา ตั้งแต่ยุคเจ้าชายโชโตกุเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ
กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นสืบมา เมื่อถึงสมัยนารา (Nara) ประมาณปี พ.ศ. 1253-
1327 พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น นารา อันเป็นราชธานีของญี่ปุ่นยุคนั้นถึงกับได้
ชื่อว่า นครแห่งอารามหนึ่งพัน เพราะถนนทุกสายในเมืองนี้มีวัดพระพุทธศาสนา ยุคนั้นมี
นักปราชญ์ญี่ปุ่นไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น และได้นำนิกายต่าง ๆ มา
เผยแผ่ในญี่ปุ่น ซึ่งสมัยนั้นมี 6 นิกายด้วยกัน
ในปี พ.ศ. 1284 พระเจ้าจักรพรรดิโชมุทรงประกาศจักรพรรดิราชโองการให้สร้างวัด
ของราชการประจำจังหวัดทั่วประเทศ ยุคนี้ลาภสักการะเกิดขึ้นกับคณะสงฆ์มาก เพราะกษัตริย์
และพสกนิกรให้การอุปถัมภ์จึงทำให้มีผู้เข้ามาบวชเพื่อหวังลาภสักการะจำนวนมากอีกทั้งคณะสงฆ์
เข้าครอบงำราชการแผ่นดิน ทำให้ห่างเหินการปฏิบัติธรรม ศาสนาจึงเสื่อมลง พระจักรพรรดิ
ต้องการจะลิดรอนอำนาจทางการเมืองของพระสงฆ์จึงย้ายเมืองหลวงจากนาราไปเกียวโต (เฮอัน)
พระพุทธศาสนา 6 นิกายนี้จึงไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักอีก เป็นเหตุให้เสื่อมลงในที่สุด
1 นิกายซารอน (มาธยมิกะ/มหายาน) นิกายฮอสโซ (โยคาจาร มหายาน) นิกายเคงอน (อวตัมสกะ มหายาน)
นิกายริตสุ (นิกายวินัย เถรวาท) นิกายกุชา (สรวาสติวาทิน/เถรวาท) และนิกายโจจิตสุ (เถรวาท)
134 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า