การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 192
หน้าที่ 192 / 249

สรุปเนื้อหา

การเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้ขยายไปทั่วโลก ผ่านหลายนิกายนับตั้งแต่เซนจากไต้หวัน จนถึงมหายานแบบทิเบตที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ โดยมีดาไลลามะเป็นผู้นำที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังทั่วโลก รวมถึงการเขียนหนังสือและเดินทางไปพบผู้นำประเทศต่างๆ การเข้าร่วมขององค์กรอย่าง Soka Gakkai International ที่มีสมาชิกจำนวนมากก็มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังทั่วโลก สถิติจากศูนย์พระพุทธศาสนาที่พบในเว็บไซต์ dmc.tv แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและความนิยมที่สูงในนิกายนี้

หัวข้อประเด็น

-การเผยแพร่พระพุทธศาสนา
-นิกายนิกายเซน
-มหายานแบบทิเบต
-บทบาทของดาไลลามะ
-องค์กร Soka Gakkai International

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เผยแพร่รินไซเซน จากประเทศไต้หวันที่เผยแพร่โดยคณะสงฆ์วัดฝอกวงซัน ซึ่งมีวัดสาขา กว่า 250 แห่งทั่วโลก หรือเซนจากเวียดนามนำโดยท่านติช นัท ฮันห์ ผู้ที่ทำให้คนเรือนแสน หันมาสนใจพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีมหายานนิกายนิชิเร็นที่รู้จักกันดีในนามองค์กรโซกะ กัคไค (Soka Gakkai International = SGI) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 12 ล้านคนทั่วโลก ก็เข้าไป เผยแผ่และได้ผลอย่างดียิ่ง พระพุทธศาสนามหายานที่สำคัญที่สุดคือแบบทิเบต เพราะได้รับความสนใจมากที่สุด ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะความโดดเด่นขององค์ทะไล ลามะ เท็นซิน กยัตโซ (The 14 Dalai Lama, Tenzin Gyatso) ผู้นำสงฆ์และประชาชนชาวทิเบตในปัจจุบัน ท่านเดินทางไปกว่า 52 ประเทศ ทั่วโลกเข้าพบผู้นำของแต่ละประเทศเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบรรดาผู้นำเหล่านั้น โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ท่านเขียนหนังสือเผยแพร่กว่า 50 เล่ม ได้รับรางวัลเกียรติยศกว่า 57 รางวัล รวมทั้งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.2532 ด้วย เหตุนี้พระพุทธศาสนาทิเบตจึงได้รับความสนใจชาวชาวโลกมากโดยเฉพาะชาวตะวันตก จากจำนวนศูนย์ (Center) พระพุทธศาสนาทั่วโลกในเว็บไซต์ www.buddhanet.net แสดงให้เห็นว่าอย่างชัดเจนว่า มหายานแบบทิเบตและเซนได้รับความนิยมสูงมากดังตารางที่ แสดงในหน้าถัดไป จำนวนศูนย์พระพุทธศาสนาเหล่านี้หมายถึงวัดบ้าง ศูนย์นั่งสมาธิบ้าง เป็น องค์กรทางพุทธศาสนาอื่น ๆ บ้าง ข้อมูลที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งผู้จัดทำเว็บไซต์ www.buddhanet.net รวบรวมได้ ในความเป็นจริงมีศูนย์พระพุทธศาสนาอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ แจ้งข้อมูลไว้ นอกจากนี้ยังมีบางเว็บไซต์ให้ข้อมูลเฉพาะนิกายได้ล่าสุดกว่า แต่เนื่องจากว่า เว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้ให้ข้อมูลครอบคลุมทุกนิกาย ด้วยเหตุนี้จึงใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้เป็นหลัก 1 พระเถระซินติ้ง, อ้างในเดลินิวส์ (2549). เผยแผ่พระพุทธศาสนา : ยุทธวิธีที่ต้องปรับเปลี่ยน. (ออนไลน์) เฮเลน ทรอคอฟ (2538) บทสัมภาษณ์จากนิตยสาร Tricycle. (ออนไลน์) * SGl.(2549).Soka Gakkai International. (ออนไลน์) * www.buddhanet.net (2549). Buddhist Masters and Their Organisations. (ออนไลน์) พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ตะวันตก DOU 183
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More