ข้อความต้นฉบับในหน้า
แต่เป็นของเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตเคยตรัสสอนไว้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ศึกษา
ค้นคว้าหลักธรรมนั้นด้วยการเจริญสมาธิภาวนาจนตรัสรู้แล้วได้นำมาตรัสสอนพุทธบริษัทต่อไป
พระองค์จะมาตรัสรู้หรือไม่ก็ตามแต่หลักธรรมดั้งเดิมนั้นก็ยังคงอยู่เหมือนดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน
ปัจจัยสูตรว่า “พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น
คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่ง
ธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น
และตรัสว่าท่านทั้งหลายจงดู....”
1.3 จะศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการอย่างไร
เมื่อทราบความสำคัญของประวัติศาสตร์แล้ว เราจะศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการ
อย่างไรจึงจะถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด การศึกษาประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ศึกษาในฐานะเป็นนักประวัติศาสตร์ และศึกษาในฐานะบุคคลทั่วไป การศึกษาประวัติศาสตร์
ในฐานะเป็นนักประวัติศาสตร์นั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อน เพราะจะต้องมีการตั้งสมมติฐาน
รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นจึงเรียบเรียงเป็นตำราประวัติศาสตร์ขึ้น ส่วนการศึกษา
ประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นบุคคลทั่วไป จะเป็นการศึกษาผลงานที่นักประวัติศาสตร์เรียบเรียง
ขึ้นจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วข้างต้น การศึกษาประวัติศาสตร์ในลักษณะนี้ใ
ะนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1.3.1 ศึกษาด้วยความสนใจใคร่รู้ในประวัติศาสตร์
นักศึกษาจำนวนมากมักจะเบื่อวิชาประวัติศาสตร์ เพราะไม่เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์
ของเรื่องราวในอดีต จึงมักศึกษาไปเพื่อให้พอสอบผ่าน ไม่ได้ศึกษาด้วยความสนใจใคร่รู้ใน
ประวัติศาสตร์จริงๆ ด้วยเหตุนี้จึงไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เมื่อเรียนจบแล้วจึงแทบจะไม่ได้
บทเรียนอะไรจากประวัติศาสตร์เลย นักศึกษาควรจะมีความใฝ่รู้เหมือนดังเช่นสามเณรราหุลที่
ปรารถนาจะศึกษาความรู้ในแต่ละวันให้มากที่สุด ให้เท่ากับปริมาณเม็ดทรายในมือที่กำขึ้นใน
แต่ละวัน
1 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, เล่ม 16 ข้อ 61 หน้า 22
10 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา