ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. ประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏานมีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) เป็น
ประเทศเล็กๆ มีพื้นที่เพียง 47,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนเชิงเขาหิมาลัย อยู่ทางตอนใต้
ของจีนและทิเบต เหนือบังกลาเทศและอินเดีย ติดกับเนปาล มีเมืองหลวงชื่อ ทิมพู ลักษณะ
การปกครองเป็นแบบกึ่งศาสนาถึงอาณาจักรคล้ายกับทิเบต แต่มีความต่างกันบ้าง คือทิเบตมี
องค์ทะไล ลามะเป็นผู้นำทั้งทางศาสนาและอาณาจักร ส่วนภูฏานมีกษัตริย์ปกครองประเทศ และ
มีพระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์สูงสุด เรียกว่า เจ เคนโป (Je Khenpo) เป็นประมุขสงฆ์และช่วยบริหาร
ราชการแผ่นดินด้วย เจ เคนโป มีฐานะเทียบเท่ากษัตริย์ ในอดีตการปกครองของทั้งสอง
ประเทศเหมือนกัน ประชากรในภูฏานมีประมาณ 752,700 คน (พ.ศ.2548) โดย 74% นับถือ
พระพุทธศาสนา นิกายตันตรยาน 25% นับถือศาสนาฮินดู 0.7% เป็นมุสลิม และ 0.3% นับถือ
ศาสนาคริสต์'
พระพุทธศาสนาในภูฏานมีลักษณะแบบเดียวกับทิเบต โดยท่านคุรุปัทมสัมภวะเป็น
ผู้นำพระพุทธศาสนาตันตระมาเผยแผ่ครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ต่อมาในปี พ.ศ.1763
ลามะทิเบตชื่อ ปาโช ดรุกอมชิโป (Phajo Drugom Shigpo) เดินทางมาเผยแผ่นกายดรุกปะกาจู
(Drukpa Kagyupa) ซึ่งพระลามะในนิกายนี้สามารถมีภรรยาได้ ในระหว่างที่ลามะปาโชเดิน
ทางไปเมืองทิมพู ท่านได้แต่งงานกับนางโซนัม พอลดอน มีบุตรสาว 1 คน บุตรชาย 4 คน
ลามะปาโชเป็นที่เคารพนับถือของชาวภูฏานมาก เป็นผู้นำทั้งศาสนจักรและอาณาจักร
เช่นเดียวกับทิเบต ต่อมาบุตรชายทั้ง 4 คน ได้ครองเมืองคนละเมือง นิกายดรุกปะกาจูได้เป็น
นิกายที่สำคัญของประเทศภูฏานจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงแรกๆ ภูฏานรับแบบอย่างการปกครองมาจากทิเบต คือ ผู้นำประเทศจะเป็น
ผู้นำทางศาสนาด้วย ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลงคือ กษัตริย์ทำหน้าที่ปกครองฝ่ายบ้านเมือง
ส่วนพระสังฆราชหรือ เจ เคนโป ปกครองสงฆ์เป็นหลัก แต่ก็มีส่วนในการปกครองประเทศด้วย
โดยพระสงฆ์มี 10 ที่นั่งในสภา ผู้วางรากฐานการปกครองนี้คือ ลามะชับดรุง งาวัง นมเยล
(Shabdrung Ngawang Namgyel ; พ.ศ.2137-2194) การปกครองระบอบนี้ใช้กฎหมาย 2 ฉบับ
คือ โล ทริม มิ ลุ ทริม คือกฎหมายทางใจ และซา ลุง มิ ลุ ลุง คือกฎหมายทางโลก
ต่อมาวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2548 พระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงประกาศ
เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมี
1 วิกิพีเดีย (2549), ศาสนาในประเทศภูฏาน (ออนไลน์)
พระพุทธศาสนาในเอเชีย
DOU 115