การสังคายนาพระธรรมวินัยและนิกายของพระพุทธศาสนาในอินเดีย GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 76
หน้าที่ 76 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สรุปการสังคายนาพระธรรมวินัยในอินเดีย ซึ่งมี 3 ครั้งที่สำคัญตั้งแต่หลังจากพระพุทธปรินิพพาน รวมถึงการเกิดขึ้นของนิกายมหายานและการเปลี่ยนแปลงของพระพุทธศาสนาในอินเดีย ความแตกแยกระหว่างเถรวาทและมหายาน รวมถึงสาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นในอินเดีย โดยเน้นการปฏิบัติธรรมและความสามัคคีภายในชุมชน

หัวข้อประเด็น

-การสังคายนาพระธรรมวินัย
-นิกายมหายาน
-ความแตกต่างระหว่างเถรวาทและมหายาน
-การเปลี่ยนแปลงของพระพุทธศาสนา
-สาเหตุการสูญสิ้นของพระพุทธศาสนาในอินเดีย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. การสังคายนาพระธรรมวินัยในอินเดียซึ่งยอมรับกันในฝ่ายเถรวาทมี 3 ครั้ง คือ ภายหลังจากพุทธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระมหากัสสปะก็ปรารภเหตุที่มีภิกษุกล่าวจ้วงจาบ พระธรรมวินัย จึงชักชวนภิกษุสงฆ์ให้ทำการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก ซึ่งนับเป็นครั้งที่ สำคัญที่สุดเพราะได้รวบรวมพุทธวจนะมาทรงจำรักษาไว้เป็นแบบแผนและสืบทอดด้วยมุขปาฐะ ต่อมาในการสังคายนาครั้งที่ 2 ซึ่งปรารภเหตุภิกษุชาววัชชีประพฤตินอกพระธรรมวินัย ภิกษุ วัชชีบุตรไม่ยอมรับมติ จึงแยกไปทำสังคายนาต่างหากและเรียกตัวเองว่า มหาสังฆิกะ จึงทำให้ สงฆ์แตกออกเป็น 2 ฝ่าย และในการสังคายนาครั้งที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศกซึ่งปรารภเหตุ เดียรถีย์ปลอมบวชในพระศาสนา จึงปรากฏว่าคณะสงฆ์ได้แยกเป็น 18 นิกายแล้วอย่างชัดเจน 2. การเกิดขึ้นของนิกายมหายานในอินเดีย ดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเน้น การปรับปรุงวิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนาเสียใหม่ ทั้งยังปฏิรูปเปลี่ยนแปลงคำสอนดั้งเดิมเพื่อให้ สามารถแข่งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในขณะนั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ มุ่งเน้นอุดมคติพระโพธิสัตว์โดยการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ถือว่าเป็นแกนกลางของคำสอน ทั้งหมดในฝ่ายมหายานและยกย่องว่าโพธิสัตวยานเป็นหนทางอันสูงสุดเพราะสามารถช่วยเหลือ สรรพสัตว์ไปได้มากที่สุด ภายหลังมหายานยังได้แตกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก ได้แก่ นิกายมาธยมิกะ และนิกายโยคาจาร ໆ 3. พระพุทธศาสนาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่พระพุทธศาสนา ดั้งเดิมในยุคพุทธกาล ซึ่งต่อมาได้แบ่งออกเป็น 2 สาย คือ เถรวาทอันเป็นนิกายที่ยึดมั่นรักษา สืบทอดแก่นคำสอนดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น อีกสายหนึ่งคือ มหายานที่ปรับเปลี่ยนคำสอน ไปตามความจำเป็นของยุคสมัย และต่อมาเกิดเป็นพุทธตันตระหรือวัชรยานที่ผสมผสานลัทธิ ฮินดูมีการข้องแวะเรื่องเพศ จนแทบจะไม่เหลือต้นเค้าของพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมไว้เลย 4. สาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาต้องสูญสิ้นไปจากอินเดีย สรุปได้ 2 ประการคือ ประการแรกเกิดจากสาเหตุภายในคือความอ่อนแอของพุทธบริษัทเอง เริ่มต้นจากความประพฤติ ย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ จนละเลยการปฏิบัติธรรมอันเป็นหัวใจของ พระพุทธศาสนา ความขัดแย้งแตกแยกทางความคิดของหมู่สงฆ์ที่เน้นการโต้แย้งกันในเชิง ทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ ได้ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีกันในหมู่ชาวพุทธ ซึ่งถือว่าเป็น พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น อินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 67
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More