กำเนิดองค์ทะไล ลามะ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 153
หน้าที่ 153 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เล่าถึงการกำเนิดขององค์ทะไล ลามะในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ที่เกิดจากการพบกันระหว่างอัลตันข่านและโซนัม กยัตโซ โดยองค์ทะไล ลามะในอนาคตได้รับการสถาปนาเป็นผู้นำสูงสุดทั้งด้านศาสนาและการเมืองในทิเบต โดยเฉพาะยุคขององค์ทะไล ลามะ องค์ที่ 5 โลซัง กยัตโซ ซึ่งได้สร้างฐานะแห่งการปกครองที่มีพระเป็นผู้นำสูงสุดจากนั้นเกิดเหตุการณ์สำคัญ เมื่อองค์ทะไล ลามะองค์ที่ 14 ต้องลี้ภัยมายังอินเดียจากการถูกกดขี่ในทิเบต จากการเข้ายึดครองของจีน หลังจากนั้นองค์ทะไล ลามะได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาและได้รับการยกย่องทั่วโลก รวมถึงการมาเยือนประเทศไทยในปี 2536 เพื่อรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

หัวข้อประเด็น

-กำเนิดองค์ทะไล ลามะ
-ประวัติศาสตร์ทิเบต
-บทบาทขององค์ทะไล ลามะในสงคราม
-พระพุทธศาสนาแบบทิเบต
-การหลบหนีขององค์ทะไล ลามะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กำเนิดองค์ทะไล ลามะ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 อัลตันข่านแห่งมองโกลบุกยึดทิเบต และมีโอกาสได้พบกับโซนัม กยัตโซ ประมุขสงฆ์นิกายเกลุก องค์ที่ 3 อัลตันข่านเกิดความเลื่อมใสยิ่งนักจึงถวายตำแหน่ง ทะเล ให้แก่ท่าน ชาวทิเบตออก เสียงว่า ทะไล (Dailai) โซนัม กยัตโซได้ถวายตำแหน่งทะไล ลามะ ย้อนหลังขึ้นไปในสองชาติ แรกของท่านด้วย ซึ่งก็คือประมุขสงฆ์นิกายเกลุกองค์ที่ 1 และ 2 นั่นเอง ยุคของทะไล ลามะ องค์ที่ 4 นิกายเกลุกก็เจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิม เพราะกองทหารมองโกลหนุนหลังอยู่ สมัยทะไล ลามะ องค์ที่ 5 โลซัง กยัตโซ (พ.ศ.2158-2223) การเมืองในทิเบต ปั่นป่วน เกิดการแย่งชิงบัลลังก์กันในนครลาซา กุชรีข่าน ผู้นำมองโกลจึงเข้ามาช่วยปราบปราม จากนั้นจึงมอบอำนาจการปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรให้แก่ท่านโลซัง กยัตโซ ทะไล ลามะ องค์ที่ 5 จึงเป็นจุดเริ่มต้นระบอบการปกครองที่มีพระเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ท่านโลซัง กยัตโซ ทรงทำให้ชาวมองโกลเป็นพุทธศาสนิกชนทั้งประเทศ และทรงสร้างต่อเติม พระราชวังโปตาลาให้ใหญ่โตกว่าเดิม องค์ทะไล ลามะในปัจจุบัน เป็นองค์ที่ 14 พระนามว่า เป็นซิน กยัตโซ พระองค์ทรง จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ ณ ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย เนื่องจากทิเบตถูกกองทัพจีนยึดครอง ในปี พ.ศ. 2494 พระองค์จึงเสด็จลี้ภัยมาอยู่ประเทศอินเดียในปี พ.ศ.2502 เหตุการณ์นี้ ทำให้ทิเบตและพระพุทธศาสนาแบบทิเบตเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยเฉพาะชาวตะวันตก ใน สหรัฐอเมริกามีชาวพุทธทิเบตอยู่ประมาณ 5,000,000 คน ส่วนใหญ่เป็นนิกายหมวกเหลือง หรือเกลุก' องค์ทะไล ลามะ องค์ปัจจุบันได้มาเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ.2536 เพื่อรับรางวัล โนเบล สาขาสันติภาพ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทย ในการนี้รัฐบาลจีนได้เตือนประเทศไทยว่า ไม่ควรออกวีซ่าให้องค์ทะไล ลามะ เพราะว่าพระองค์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมแบ่งแยกดินแดนจีน ตลอดมา แต่รัฐบาลไทยก็ออกวีซ่าให้ โดยมีเหตุผลว่าเป็นเมืองพุทธ ไม่มีเหตุอันควรที่จะ สกัดกั้นพระที่จะเข้าประเทศ นอกเสียจากมาก่อเหตุร้ายเท่านั้น แต่ด้วยกระแสกดดันจากจีน เมื่อองค์ทะไล ลามะเข้ามาในประเทศไทยแล้ว ปรากฏว่า ไม่มีวัดไหนกล้าให้ที่พักแก่ท่าน ใน ครั้งนั้น หลวงพ่อปัญญานันทะ วัดชลประทาน ได้อาสาให้พระองค์พักที่วัดท่าน แต่สุดท้าย วัดบวรนิเวศวิหารก็ได้นิมนต์ให้ท่านไปพักที่นั่นในฐานะเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ประมุขสงฆ์ไทย * สุชาติ หงสา, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, 2549 หน้า157 144 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More