การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 204
หน้าที่ 204 / 249

สรุปเนื้อหา

หนังสือ 'The World of the Buddha' ของญาณติโลกมหาเถระที่เผยแพร่ในปี พ.ศ.2449 สร้างชื่อเสียงและจัดพิมพ์ใน 9 ภาษา ขายดีและมีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ก่อนที่ท่านจะมรณภาพในปี พ.ศ.2500 ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ ยอร์จ กริมม์ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี หลังจากที่เขาเลื่อมใสในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนังสือและบทความของเขาได้รับการตอบรับจากชาวพุทธในเยอรมนีและฝรั่งเศส ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในตะวันตกมีความกว้างขวางขึ้น จนเกิดการจัดตั้งชุมชนชาวพุทธ และมีการประชุมหมู่บ้านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านพระธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี
-บทบาทของยอร์จ กริมม์
-การจัดตั้งชุมชนชาวพุทธ
-การศึกษาและเผยแพร่พระธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ญาณติโลกมหาเถระเขียนหนังสือเล่มแรกชื่อ The World of the Buddha พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.2449 หนังสือเล่มนี้สร้างชื่อเสียงให้ท่านมาก จัดพิมพ์ถึง 9 ภาษา บางภาษาพิมพ์ 10,000 เล่ม ขายหมดด้วยเวลาเพียงไม่นาน และได้จัดพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายครั้งยาวนาน ถึง 6 ชั่วอายุคน ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 รัฐบาลศรีลังกาประกอบ พิธีพระราชทานเพลิงศพให้อย่างสมเกียรติ ชาวศรีลังกามาร่วมงานถึง 500,000 คน และได้ บรรจุอัฏฐิของท่านไว้ ณ Independence Square กรุงโคลัมโบ ก่อนมรณภาพท่านตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้กลับมาเกิดเป็นบุรุษในศรีลังกาและได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนีกว้างขวางมากขึ้น ชาวพุทธเยอรมันนำ โดยท่านธัมมสารี จึงจัดตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นที่เบรสเลา (Breslau) ในปี พ.ศ.2452 เพื่อพิมพ์ วารสารทางพระพุทธศาสนาเผยแพร่ และในปีเดียวกันนี้ ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาลีเยอรมันขึ้น (German Pali Society) โดยมีภารกิจสำคัญคือการสร้างวัดพุทธศาสนาในตะวันตก แต่เมื่อ เวลาผ่านไป 3 ปีก็ต้องปิดตัวลง และมีสมาคมใหม่เกิดขึ้นชื่อ League For Buddhist Life ในปี พ.ศ.2456 ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนาสายเถรวาท งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนีกว้างขวางแพร่หลายมากขึ้น เมื่อชาว เยอรมันผู้หนึ่งหันมาเลื่อมใสศรัทธาในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลนั้นคือ ยอร์จ กริมม์ (George Grimm) บิดามารดาต้องการให้เขาบวชในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก แต่เมื่อ เขาได้อ่านหนังสือปรัชญาของอาร์เธอร์ โชเปนเฮาเออร์ ด้วยความยกย่องอย่างสูงของอาร์เธอร์ ที่มีต่อพระพุทธศาสนาและการประกาศตัวเป็นชาวพุทธของเขา ทำให้ ยอร์จ กริมม์ เริ่มสนใจ และเมื่อได้ศึกษามากเข้าทำให้เกิดความซาบซึ้งในรสพระธรรม ตัดสินใจออกจากงานตุลาการ เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและเผยแผ่พระธรรมคำสอนให้กว้างไกล เขาประกาศว่า จะปฏิบัติ พุทธธรรมให้บรรลุโสดาบันในชีวิตนี้ให้จงได้ ในปี พ.ศ.2464 ยอร์จ กริมม์ และดร.คาร์ล ไซเดนสติกเกอร์ ได้จัดตั้งชุมชนหมู่บ้าน สหายชาวพุทธเยอรมันขึ้นใน Utting am Ammersee นอกจากชาวเยอรมันแล้วยังมีชาวพุทธ ฝรั่งเศสจำนวนมากมาฟังบรรยายและร่วมประชุมเสวนาเรื่องพระพุทธศาสนากับเขา ยอร์จ กริมม์เขียนหนังสือพระพุทธศาสนา 8 เล่ม และเขียนบทความเผยแพร่ในวารสารมากฉบับ ดร.อันส์ มุช ผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคของโลก ได้ประกาศตนเป็นชาวพุทธผู้เคร่งครัด เพราะได้ อ่านหนังสือของเขา ยอร์จ กริมม์รู้สึกว่าตนเองเป็นหนี้บุญคุณทุกคนที่ให้ความรู้เรื่องพระพุทธ ศาสนาแก่เขา เขานำภาพขนาดใหญ่ของอาร์เธอร์ โชเปนเฮาเออร์ ประดับพวงดอกไม้สดแขวน พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ตะวันตก DOU 195
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More