การปฏิบัติและปรัชญาโยคะในระบบคิดของอินเดีย GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 48
หน้าที่ 48 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความทำการสำรวจแนวคิดและวิธีการปฏิบัติในโยคะ รวมถึงหลักการของลัทธิมิมางสา โดยเน้นที่การพัฒนาจิตและการแสวงหาความเป็นจริงสูงสุดในชีวิต ทั้งนี้ สอนว่าแม้ว่าจะมีความแตกต่างในรายละเอียด แต่ทุกสำนักต่างมีเป้าหมายร่วมคือการหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งชีวิตและการเข้าถึงความจริงสูงสุด เรื่องราวนี้ช่วยให้เข้าใจการค้นคว้าและแนวความคิดที่ซับซ้อนในปรัชญาอินเดีย ภายในบริบทของธรรมชาติและวัฒนธรรม

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติโยคะ
-ลัทธิมิมางสา
-การเข้าถึงอาตมัน
-ความเชื่อในวิญญาณ
-เป้าหมายสูงสุดในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิญญาณอันเป็นปฐม (คือ ให้อาตมันเข้าไปอยู่ในปรมาตมัน) วิธีการของโยคะ คือ บังคับการ ระบายและตั้งลมหายใจเข้าออก เพ่งบางส่วนของร่างกายให้เกิดสมาธิ ต้องมีความข่มการ ดิ้นรนให้หมดไป โดยตั้งใจเพ่งพระอิศวรเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นบุรุษหรืออาตมัน อันพ้นแล้วจาก กรรมหรือความเสื่อมเสียทั้งปวง มีทางเข้าถึงโยคะ 8 สาย การปฏิบัติโยคะนี้ต้องปฏิบัติเป็น ขั้น ๆ ไป และจะเกิดความสำเร็จเป็นขั้น ๆ เช่นกัน บางครั้งอาจเกิดมีอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นมา ซึ่งเป็นผลพลอยได้ แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อการดับพฤติกรรมของจิต 6) ลัทธิมิมางสา (Mimamsa) ก่อตั้งโดยฤๅษีไซมินิ เชื่อว่าวิญญาณเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เชื่อว่าโลกนี้และวิญญาณต่างๆ ล้วนเป็นอมตะ และเชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท แต่มิได้กล่าวถึงเทพเจ้าว่าเป็นผู้สร้างโลก โดยถือว่า พระเจ้าสูงสุดไม่มี โลกนี้ไม่มีใครสร้าง และจะไม่มีวันสูญสลาย โลกจะดำรงอยู่อย่างนี้ตลอดไป ทั้งสากลโลกและจักรวาล ไม่มีกาลไหนๆ ที่สากลจักรวาลจะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างไปจากที่ มันเป็นอยู่ในเวลานี้ถึงอย่างไรสากลจักรวาลก็จะยังคงสถานะและสภาวะที่เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป จากรายละเอียดข้างต้น เราจะเห็นว่าชาวอินเดียเป็นนักคิดนักแสวงหาที่มีแนวคิดใน เชิงศาสนาและปรัชญาที่ละเอียดซับซ้อน มีหลากหลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็มีคำสอนที่มี รายละเอียดต่างกันไป ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อีกส่วนหนึ่ง เกิดจากความหลากหลาย และเหลื่อมล้ำต่ำสูงแห่งวิถีชีวิตของผู้คน อย่างไรก็ตาม คำสอนที่เป็นศาสนาหรือปรัชญาเหล่านั้น แม้จะต่างกันในรายละเอียด แต่ทั้งหมดล้วนมีลักษณะร่วมอย่างเดียวกัน คือการแสวงหาความเป็นจริงสูงสุดที่เป็นฐาน รองรับความมีอยู่ของชีวิต โลก และจักรวาล และพยายามอธิบายแนวความคิดเกี่ยวกับความ เป็นจริงนั้น ๆ สะท้อนออกมาเป็นปรัชญาชีวิต เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุโมกษะหรือการ หลุดพ้น ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดของทุก ๆ ชีวิต 1 พระมหาสมจินต์ สมมาปญฺโญ, พุทธปรัชญา สาระและพัฒนาการ, 2544 หน้า 3 สังคม อินเดีย ก่ อ น ยุ ค พุ ท ธ ก า ล DOU 39
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More