การอพยพและอารยธรรมของชาวอารยันในอินเดีย GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 31
หน้าที่ 31 / 249

สรุปเนื้อหา

การอพยพของชาวอารยันเข้าสู่ดินแดนอินเดียมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ โดยอารยธรรมที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น 3 สาย ได้แก่ อารยธรรมดราวิเดียน, อารยธรรมอารยัน และอารยธรรมที่ผสมผสานระหว่างสองสาย ซึ่งส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ศาสนาพราหมณ์ยังมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและความเชื่อของผู้คนในอินเดีย ตั้งอยู่บนรากฐานของลัทธิและขนบธรรมเนียมที่สัมพันธ์กับการใช้ภาษาและเชื้อชาติเดียวกันในยุโรปด้วย

หัวข้อประเด็น

- การอพยพของชาวอารยัน
- อารยธรรมต่างๆ ในอินเดีย
- ศาสนาพราหมณ์และวัฒนธรรมอินเดีย
- ความเชื่อและประเพณีที่ผสมผสาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่ชำนาญในการเพาะปลูก การทำกสิกรรมจึงมีเพียงเล็กน้อยและค่อนข้างจำกัด แต่มีหัวใน การต่อสู้รุกรบอยู่เสมอ และยกย่องชายผู้เป็นนักรบ การอพยพเคลื่อนย้ายของชาวอารยัน แบ่งออกเป็นสองสาย คือสายหนึ่งมุ่งไปทาง ตะวันตกตอนใต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นบรรพบุรุษของชาวยุโรป และอีกสายหนึ่งอพยพไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นจึงเข้าสู่เปอร์เซียและอินเดียตามที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้พวก อารยันที่เข้ามาใหม่นั้นค่อยๆ ทยอยเข้ามาในอินเดียเป็นระลอกๆ อยู่นานเป็นร้อยปี จนกระทั่ง หยุดการอพยพเมื่อราว 800 ปีก่อนพุทธกาล หลังจากที่ชาวอารยันตั้งหลักแหล่งในอินเดียแล้ว ก็มิได้สร้างอารยธรรมเมืองซ้อนทับ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่ถูกทำลายลงไปแต่อย่างใด กลับยึดป่า แม่น้ำและทะเลเป็นของตัวเอง เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์โดยไม่จำเป็นต้องย้ายถิ่นอีกต่อไป จากนั้นก็เริ่มต้นตั้งหลักปักฐาน สร้างสังคมที่ผสมผสานความเป็นอารยันของพวกตนและสังคมเกษตรกรรมของชาวพื้นถิ่นเดิม คือพวกทราวิฑ รวมทั้งผสมกลมกลืนเอาวัฒนธรรมดั้งเดิมของพวกทราวิฑไว้ และสร้าง อารยธรรมใหม่ของตนขึ้นอย่างแข็งแกร่งสืบต่อมา ในที่สุดจึงเกิดเป็นอารยธรรม 3 สาย คือ 1) อารยธรรมดราวิเดียนแท้ 2) อารยธรรมอารยัน 3) อารยธรรมผสมระหว่างดราวิเดียนกับอารยัน นักประวัติศาสตร์ศาสนาชี้ว่า อารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองและคงอยู่ต่อมาก็คือ อารยธรรมสายที่ 3 ที่มีการผสมผสานกันระหว่างอารยธรรมดราวิเวียนแท้กับอารยธรรมใหม่ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม 2.2 กำเนิดและพัฒนาการทางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ในประวัติศาสตร์ของอินเดีย ถือว่าศาสนาพราหมณ์เป็นแหล่งกำเนิดลัทธิประเพณี ของตน วัฒนธรรมพราหมณ์รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและปรัชญาพราหมณ์นั้น เชื่อว่า 2 - หลักฐานทางนิรุกติศาสตร์สรุปว่า บรรดาผู้คนในทวีปยุโรป และในอินเดีย ล้วนมีบรรพบุรุษเป็นพวกอารยัน เหมือนกัน เพราะภาษาที่ใช้ต่างก็อยู่ในภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนเหมือนกัน ซึ่งจะถือว่าเป็นภาษาของ พวกอารยันดั้งเดิมก็ว่าได้ พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, พุทธปรัชญา สาระและพัฒนาการ, 2544 หน้า 2 22 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More