บันทึกเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 80
หน้าที่ 80 / 249

สรุปเนื้อหา

บันทึกเหตุการณ์สำคัญหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน สะท้อนถึงความเห็นที่แตกต่างในหมู่พระสงฆ์เกี่ยวกับสิกขาบทและการทำสังคายนา โดยพระมหากัสสปะได้ชักชวนให้ทำการสังคายนาเพื่อรักษาแนวทางของพระธรรม วินัย หลังการประชุมสงฆ์มีการตกลงร่วมกันในเรื่องสิกขาบทตามคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับพระปุราณะและบริวารเมื่อทราบผลการสังคายนา

หัวข้อประเด็น

-เหตุการณ์หลังปฏิบัติธรรม
-การทำสังคายนา
-ความสำคัญของพระวินัย
-การตีความสิกขาบท
-ความคิดเห็นของพระปุราณะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บันทึกเหตุการณ์สำคัญ : หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้เพียง 7 วัน เหล่าพระ สาวกที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์ ต่างมีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก แต่มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่า สุภัททะ กลับดีใจพูดว่า “พระพุทธเจ้านิพพานเสียแล้วก็ดี ต่อไปจะได้ไม่มีใครมาคอยกล่าวว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” พระมหากัสสปะได้ฟังดังนั้น ก็บังเกิดความสลดใจว่า “พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ไม่กี่วัน ยังมีผู้กล่าวถ้อยคำที่ไม่สมควรเช่นนี้ ถ้าไม่จัดการอะไรลงไป ปล่อยไว้ให้เนิ่นนานเสีย ก็จะนำความเสื่อมเสียมาสู่พระพุทธศาสนา สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยจักเจริญ สิ่งที่เป็นธรรม เป็นวินัยจะเสื่อมกำลัง พวกอธรรมวาที่จักเจริญ พวกธรรมวาที่จักเสื่อมถอย” ดังนั้นเมื่อถวาย พระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จแล้ว ท่านจึงชักชวนภิกษุทั้งหลายให้มาร่วมทำสังคายนา ในระหว่างสังคายนา พระอานนท์ได้แจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตว่าถ้าสงฆ์เห็นสมควรก็สามารถเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้แต่ที่ประชุมมีความเห็น ไม่ตรงกันว่าสิกขาบทเล็กน้อยหมายความถึงสิกขาบทใดบ้าง พระมหากัสสปะจึงสรุปว่าจะ ไม่เพิกถอนสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว และจะไม่บัญญัติสิกขาบทที่ พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้ ซึ่งที่ประชุมสงฆ์ก็รับรองเป็นเอกฉันท์ จึงเป็นหลักปฏิบัติต่อพระวินัย ของคณะสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะคณะสงฆ์เถรวาท หลังจากการทำสังคายนาผ่านไปไม่นานนัก มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อว่า ปุราณะ พร้อมด้วย บริวารประมาณ 500 รูป อยู่จำพรรษาที่ทักขิณาคีรีชนบทเมื่อท่านทราบว่า การสังคายนาเสร็จสิ้น แล้ว ท่านและบริวารจึงได้เข้าสู่กรุงราชคฤห์ พระสังคีติกาจารย์ที่ร่วมในการทำสังคายนาได้ เข้าไปแจ้งให้ท่านทราบว่า พระสงฆ์ได้ทำสังคายนากันแล้ว ขอให้ท่านยอมรับมติด้วย พระปุราณะกลับกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายได้ทำสังคายนาพระธรรม วินัยกันเรียบร้อยก็ดีแล้ว แต่ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า อย่างไร ข้าพเจ้าก็จักถือปฏิบัติตามนั้น” เมื่อได้ชี้แจงกันพอสมควรแล้ว ปรากฏว่าพระปุราณะมี ความเห็นตรงกับพระสังคีติกาจารย์ส่วนมาก แต่ก็มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องวัตถุ 8 ประการ ซึ่งเป็นพุทธานุญาตพิเศษที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำได้ในคราวเกิดทุพภิกขภัย แต่เมื่อภัยเหล่านั้น ระงับก็ทรงบัญญัติห้ามมิให้กระทำอีก สำหรับวัตถุ 8 ประการนั้น คือ 1. อันโตวุฏฐะ เก็บของที่เป็นยาวกาลิก คือ อาหารไว้ในที่อยู่ของตน พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 71
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More