ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความต้องการของผู้ชนะสงครามคืออารยัน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีอำนาจในสังคม ที่ต้องการจะ
แบ่งแยกกลุ่มชนที่มีชาติพันธุ์ต่างกันออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างอารยันกับดราวิเดียน เพื่อ
ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ของตน กล่าวคือ พราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ ถือเป็น
อารยวรรณะซึ่งมีผิวขาว เป็นนายเหนือชนพื้นเมืองเดิมซึ่งผิวคล้ำกว่า เรียกว่า ทาสวรรณะ หรือ
ศูทร มีหน้าที่รับใช้ผู้เป็นนายคือพวกอารยัน
สมัยต่อมาวรรณะได้ถูกตีความไปตามความจำเป็นทางสังคม ที่ต้องการแรงงานและ
ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งเป็นแต่เพียงการแบ่งหน้าที่และอาชีพให้แก่คนในสังคมเท่านั้น
ได้แก่ พราหมณ์มีหน้าที่สั่งสอนเยี่ยงครูอาจารย์ กษัตริย์มีหน้าที่เป็นนักรบป้องกันชาติบ้านเมือง
แพศย์หรือไวศยะมีอาชีพค้าขายสร้างเศรษฐกิจให้สังคมและศูทรมีหน้าที่ทำไร่ไถนาและใช้แรงงาน
ต่อมาภายหลังเมื่อมีความเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจอันเป็นมูลเหตุให้สังคมมีความ
สลับซับซ้อน และแสวงหาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพแขนงต่าง ๆ มากขึ้น จึงมีการแบ่งแยกออกเป็น
ชนชั้นใหม่ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีอาชีพการงานและกฎเกณฑ์ทางวรรณะคล้ายกัน กลายเป็น
วรรณะย่อยๆ ไป โดยวรรณะที่สูงกว่าเหยียดหยามและเอาเปรียบวรรณะต่ำ ด้วยเหตุทาง
ผลประโยชน์เป็นสำคัญ กล่าวคือในยุคแรกทาสซึ่งเป็นวรรณะต่ำที่ยังมีฐานะดีและเป็นที่
ยอมรับของสังคม สามารถแต่งงานกับวรรณะอื่นได้ แต่ภายหลังเมื่อระบบวรรณะขมวดเกลียว
แน่นขึ้น ฐานะของทาสก็ลดต่ำลงตามลำดับ กลายเป็นพวกเลวทราม (Untouchable) และห้าม
พวกทาสทำพิธีต่างๆ เช่น การเผาศพอย่างที่พวกอารยันทำ ห้ามอ่านห้ามจับพระเวท ถ้าฝ่าฝืน
จะถูกตัดมือตัดหู
ความรุนแรงของการแบ่งชั้นวรรณะดังกล่าวปรากฏชัดในช่วงปลายยุคพระเวท โดย
พวกพราหมณ์ได้อ้างคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์คือบทสวดฤคเวทตอนท้ายที่มีใจความว่า พระพรหมสร้าง
มนุษย์ให้เกิดขึ้นมาบนโลกด้วยฐานะที่ต่างกัน และมนุษย์ก็ถือกำเนิดมาจากอวัยวะที่ต่างกัน
ของพระพรหมด้วย คนในวรรณะพราหมณ์ถือกำเนิดมาจากพระเศียรของพระพรหม คน
วรรณะกษัตริย์ถือกำเนิดมาจากพระอังสา (บ่า) คนในวรรณะแพศย์ถือกำเนิดมาจากพระอุทร
(ท้อง) ส่วนคนในวรรณะศูทรถือกำเนิดมาจากพระบาท (เท้า) บางแห่งกล่าวต่างไปจากนี้ว่า
วรรณะพราหมณ์มาจากปากของพระพรหม วรรณะกษัตริย์มาจากแขน วรรณะแพศย์ซึ่ง
1 พระมหานิกร สุวรรณดี “การศึกษาวิเคราะห์หลักความเชื่อเรื่องระบบวรรณะของชาวฮินดูในประเทศไทย”
วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544 หน้า 13
* สิริวัฒน์ คำวันสา, พุทธศาสนาในอินเดีย, 2534 หน้า 12-13
* พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์, พรหมสี่หน้า, 2549 หน้า 21
30 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา