ข้อความต้นฉบับในหน้า
สำหรับการเดินทางทางทะเล เส้นทางสายไหมยังขยายไปยังเกาหลี ญี่ปุ่น และ
ประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีนได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเดินทางไปยังคาบสมุทรเปอร์เซียและประเทศแถบชายฝั่งทะเลอาหรับ
(Arabian Sea) หลังจากนั้นจึงต่อไปยังประเทศอื่นๆ
5.2.1 พระพุทธศาสนาในเอเชียใต้
เอเชียใต้ประกอบด้วยประเทศบนเทือกเขาหิมาลัย ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล
ภูฏาน และบังกลาเทศ รวมทั้งประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ ศรีลังกา และมัลดีฟส์ ประเทศ
เหล่านี้เป็นต้นแหล่งแห่งพระพุทธศาสนาในยุคแรก โดยเฉพาะประเทศอินเดีย พระพุทธ
ศาสนาบังเกิดขึ้นท่ามกลางสังคมอินเดียที่มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ
แต่ด้วยเวลา
เพียงไม่นานก็สยบความเชื่อและวัฒนธรรมดั้งเดิมลงได้ จนกลายเป็นศาสนาที่สูงเด่นในครั้ง
พุทธกาล ยุคต่อมาก็ค่อยๆ แผ่ขยายผ่านเส้นทางสายไหมไปยังนานาประเทศโดยรอบ ดังจะได้
บรรยายในแต่ละประเทศดังนี้
1. ประเทศเนปาล
ประเทศเนปาลมีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเนปาล (Kingdom of Nepal) ตั้ง
อยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนติดกับทิเบต และอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ กาฐมาณฑุ และ
เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เนปาลมีประชากรประมาณ 27,133,000 คน (พ.ศ.2548)
The 2001 census (พ.ศ.2544) ระบุว่า ชาวเนปาล 80.6% นับถือศาสนาฮินดู 10.7%
(ประมาณ 2,903,231 คน) นับถือศาสนาพุทธ 4.2% เป็นมุสลิม 3.6% นับถือครัท (Kirat)
ซึ่งเป็นศาสนาพื้นเมือง 0.5% นับถือศาสนาคริสต์ และ 0.4% นับถือศาสนาอื่นๆ
พระพุทธศาสนาเข้าสู่เนปาลตั้งแต่สมัยพุทธกาล ทั้งนี้เพราะกรุงกบิลพัสดุ์อันเป็น
เมืองประสูติของพระโพธิสัตว์ ซึ่งในอดีตอยู่ในรัฐอุตตระของอินเดีย ปัจจุบันอยู่ในเขตเนปาล
ขณะที่อังกฤษปกครองอินเดีย ได้แบ่งกรุงกบิลพัสดุ์ให้เป็นส่วนของเนปาล ในสมัยพุทธกาล
พระพุทธองค์เคยเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ นอกจากนี้หลังพุทธปรินิพพานแล้ว
พระอานนท์ก็ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในบริเวณนี้ ชาวเนปาลส่วนหนึ่งจึงนับถือพระพุทธ
ศาสนามาตั้งแต่ยุคพุทธกาล
Wikipedia (2544), Buddhism in Nepal. (ออนไลน์)
พระพุทธศาสนาในเอเชีย DOU 113