ข้อความต้นฉบับในหน้า
ส่วนม้าบางขณะก็หยั่งถึงบางขณะก็หยั่งไม่ถึง ส่วนช้างนั้นย่อมหยั่งถึงพื้นดิน แม่น้ำคงคา
เปรียบได้กับปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นธรรมอันลึกซึ้ง วิธีข้ามไปของกระต่ายเปรียบได้กับสาวกยาน
ม้าข้ามเปรียบได้กับปัจเจกยาน ส่วนช้างข้ามเปรียบได้กับโพธิสัตวยาน ซึ่งเป็นยานของ
พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
แนวคิดเรื่องตรียานสะท้อนให้เห็นรากฐานความเชื่อของมหายานที่มองว่า ทางหลุดพ้น
สายเดิมหรือสายเถรวาทนั้นเป็นทางแคบที่มุ่งเน้นเฉพาะคนบางกลุ่ม กล่าวคือผู้ที่จะหลุดพ้น
ด้วยสาวกยานได้จะต้องเป็นพระอรหันต์ผู้มีปัญญาและประกอบความเพียรมาแล้วอย่างยิ่งยวด
เท่านั้น อีกทั้งผลสำเร็จที่เกิดจากความหลุดพ้นดังกล่าว ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้นั้น
เพียงผู้เดียว ฉะนั้นจึงดูเหมือนว่าได้ละเลยคนส่วนใหญ่ที่ยังดิ้นรนอยู่ในโลกไปเสีย ในขณะที่
โพธิสัตวยานของฝ่ายมหายานกลับเป็นเหมือนพาหนะใหญ่ที่สามารถรับคนทุกประเภท ทุก
ชนชั้นวรรณะ ทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ โดยไม่เคยปฏิเสธ หรือจำกัดว่าเป็นผู้ใด ดังนั้น
จึงควรยกย่องว่าเป็นยานอันสูงสุดเพราะสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ไปได้มากที่สุดนั่นเอง
2. แนวคิดเรื่อง “พระพุทธเจ้า 3 ประเภท”
พระพุทธศาสนาในฝ่ายมหายานได้แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) พระอาทิพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรียกว่าพระอาทิพุทธะนี้ เป็นผู้เกิดขึ้น
มาเองก่อนสิ่งใดทั้งหมด (พระสยัมภูพุทธเจ้า) อันจะหาเบื้องต้นและเบื้องปลายมิได้ เป็นผู้ให้
กำเนิดพระพุทธเจ้าประเภทอื่นๆ ทั้งหมด เป็นผู้ให้กำเนิดพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย และให้กำเนิด
สรรพสิ่งต่าง ๆ ทั้งมวลที่มีอยู่ในสกลจักรวาลนี้ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทุกสิ่งทุกอย่างใน
อนันตจักรวาลนี้ ล้วนถือกำเนิดมาจากองค์พระอาทิพุทธะนี้ทั้งสิ้น
2) พระธยานิพุทธเจ้า เป็นผู้ที่เกิดมาจากอำนาจแห่งฌานของพระอาทิพุทธะเพื่อ
ปกครองอาณาจักรและอาณาจักรย่อยๆ ที่เรียกว่าพุทธเกษตร ดังนั้นในแต่ละพุทธเกษตรจะมี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคอยทำหน้าที่โปรดเวไนยสัตว์อยู่หนึ่งพระองค์และสภาพแต่ละพุทธเกษตร
อาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างตามความเหมาะสมของการโปรดสัตว์ในพุทธเกษตรนั้นๆ
3) พระมานุษิพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ถือกำเนิดมาจากพระธยานิพุทธเจ้า โดยแสดงตน
ออกมาในรูปของมนุษย์ธรรมดาและอุบัติขึ้นมาในโลกมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นอุบายแห่งการสั่ง
สอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้เร่งปฏิบัติธรรมด้วยความไม่ประมาท
2
* อภิชัย โพธิประสิทธิศาสต์, พระพุทธศาสนามหายาน, 2539 หน้า 110
สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, 2546 หน้า 11
84 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา