ลัทธิศาสนาในอินเดียยุคโบราณ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 45
หน้าที่ 45 / 249

สรุปเนื้อหา

ในยุคนี้ ลัทธิศาสนาของอินเดียแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ อไวทิกวาทะ (Nastika) ซึ่งปฏิเสธพระเวทและความศักดิ์สิทธิ์ และไวทิกวาทะ (Astika) ซึ่งยังคงยึดถือพระเวทเป็นฐานข้อมูลหลัก อไวทิกวาทะประกอบด้วยกลุ่มเหตุผลนิยมที่ใช้เหตุผลในการศึกษาและกลุ่มประสบการณ์นิยมที่เน้นการปฏิบัติ ในขณะที่ไวทิกวาทะถือว่าความรู้เกิดจากการเปิดเผยของเทพเจ้าและต้องอนุรักษ์ตามประเพณี

หัวข้อประเด็น

-การแบ่งลัทธิศาสนา
-อไวทิกวาทะ (Nastika)
-ไวทิกวาทะ (Astika)
-เหตุผลนิยม
-ประสบการณ์นิยม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฉะนั้น ลัทธิศาสนาของอินเดียในยุคนี้ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ 1. พวกอไวทิกวาทะ (Avaidika) หรือนาสติกะ (Nastika) คือพวกที่ปฏิเสธความ ศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท ปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และไม่ยอมรับประเพณีของพราหมณ์ ซึ่งหลัก ๆ ก็ได้แก่ ลัทธิของครูทั้ง 6 ศาสนาเชน และพระพุทธศาสนา ซึ่งหากจะแยกให้ชัดเจน ก็แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มเหตุผลนิยม (Rationalist) ที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยการใช้ เหตุผลและการตั้งข้อสมมุติฐาน ซึ่งถือว่าเป็นการเก็งความจริง นักคิดกลุ่มนี้ยืนยันว่าความรู้ที่ ได้มานั้นเกิดจากการใช้เหตุผลของมนุษย์ล้วนๆ ไม่อ้างอำนาจวิเศษเหนือธรรมชาติใด ๆ ทั้ง มิได้อ้างว่าเป็นความรู้ที่เกิดจากญาณหยั่งรู้พิเศษอันเกิดมาจากการบำเพ็ญเพียงทางจิตจนบรรลุ แต่เป็นความคิดความเห็นที่เกิดจากการคาดคะเนและทำนายตามหลักเหตุผลล้วนๆนักคิดกลุ่มนี้ ประกอบด้วยนักปรัชญาอุปนิษัทยุคแรก นักปรัชญาสายอาชีวกะ และปริพาชกะ 2) กลุ่มประสบการณ์นิยมหรือปฏิบัตินิยม (Experientialist) ที่ยืนยันว่า ความรู้ที่แท้จริง ย่อมเป็นผลที่เกิดมาจากการปฏิบัติ การทดลองพิสูจน์จนได้รู้แจ้งเองด้วย ประสบการณ์ของตน นักคิดกลุ่มนี้ประกอบด้วย นักปรัชญาอุปนิษัทยุคปลาย นักปรัชญาเช่น เป็นต้น ในแง่มุมการแสวงหาความรู้ นักปฏิบัติกลุ่มนี้มีแนวทางใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนา 2. พวกไวทิกวาทะ (Vaidika) หรืออาสติกะ (Astika) คือพวกที่ยังคงนับถือพระเวท เป็นปทัฏฐาน คือยอมรับประเพณีของพราหมณ์และไม่ปฏิเสธความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท พวกไวทิกวาทะนี้จึงจัดอยู่ในประเภทจารีตนิยม (Traditionalist) เพราะเชื่อว่าความรู้ทุกชนิด เกิดมาจากแหล่งเดียวกัน โดยการเปิดเผยของเทพเจ้า เรียกว่า “พระเวท” (Vedas) ซึ่ง พราหมณ์ยึดถือกันว่าเป็นคัมภีร์หลักที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นโองการของสวรรค์ เป็น ขุมทรัพย์ทางปัญญาอันยิ่งใหญ่และสูงส่งของมวลมนุษย์ ดังนั้นเมื่อมีการศึกษาและสืบทอดก็ ต้องยึดตามแบบแผนและปฏิบัติตามประเพณีธรรมเนียมเก่า ต้องอนุรักษ์และอนุวัตรตามสิ่งที่ กล่าวในคัมภีร์พระเวท โดยไม่มีข้อโต้แย้ง วิจารณ์ หรือแสวงหาเหตุผลใดๆ 1 เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค 1, 2535 หน้า 8 * พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ บทความทางวิชาการเรื่อง พุทธปรัชญา (Buddhist Philosophy), หน้า 4 36 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More