ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเข้าสู่ทิเบตตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ทรงส่งสมณทูต 9 สายไปประกาศพระศาสนา โดยสายของพระมัชฌิมเถระและคณะได้เดินทาง
มาประกาศพระพุทธศาสนา ณ บริเวณเทือกเขาหิมาลัยนี้
ต่อมาปี พ.ศ.976 กษัตริย์ลาโธ โธรี เย็นเซ (พ.ศ.900-1100) ได้รับเครื่อง
บรรณาการจากตัวแทนอินเดีย อันมีคัมภีร์พระพุทธศาสนาและพระพุทธรูปด้วย พระองค์จึง
เป็นกษัตริย์ทิเบตพระองค์แรกที่นับถือพระพุทธศาสนา ช่วงนี้พระพุทธศาสนายังไม่แพร่หลาย
เพราะลัทธิบอน” อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวทิเบตยังมีอิทธิพลอยู่มาก
เมื่อพระเจ้าซองเซน กัมโป ขึ้นครองราชย์ (พ.ศ.1160-1241) ทรงทำสงครามกับ
จีนและตีเมืองเสฉวนได้ พระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้จึงปรารถนาจะผูกมิตรกับทิเบตด้วยการยกเจ้าหญิง
ในราชสกุลองค์หนึ่งพระนามว่า หุ้นเช้งกง ให้เป็นมเหสีของพระเจ้าซองเซน กัมโป ต่อมาเมื่อ
ทิเบตรุกรานเนปาล กษัตริย์เนปาลจึงขอผูกไมตรีด้วยการยกพระธิดาชื่อ กฤกุฎีเทวี ให้เป็น
มเหสีของพระองค์เช่นกัน ราชธิดาทั้งสองได้อัญเชิญพระพุทธรูปและคัมภีร์พระพุทธศาสนาเข้าไป
ในทิเบตด้วย ทั้งสองพระองค์ได้ชักจูงให้พระสวามีนับถือพระพุทธศาสนา
พระเจ้าซองเซน กัมโปทรงส่งที่ปรึกษาราชสำนักคนสำคัญชื่อ ทอนมี สัมโภตะ พร้อม
คณะอีก 12 คน ไปศึกษาพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย ทอนมี
สัมโภตะและคณะได้นำอักษรสันสฤตมาเป็นต้นแบบในการประดิษฐ์อักษรและไวยากรณ์ภาษา
ทิเบตขึ้น และได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาทิเบตด้วย หลังจาก
นั้นชาวทิเบตจึงได้ศึกษาพระพุทธศาสนากันอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 1173 พระเจ้าซองเซน
กัมโปประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และทรงสร้างพุทธสถานที่สำคัญ
หลายแห่ง เช่น พระราชวังโปตาลา และวัดโจคัง เป็นต้น
หลังจากรัชสมัยพระเจ้าซองเซน กัมโปแล้ว ลัทธิบอนกลับมามีอิทธิพลอีกครั้ง ได้ข่ม
พระพุทธศาสนาโดยอ้างฤทธิ์เดชต่าง ๆ ของลัทธิตน จนกระทั่งพระเจ้าธริซอง เดทเซน ขึ้น
ครองราชย์ (พ.ศ. 1333-1401) พระองค์ทรงอาราธนาพระคุรุปัทมสัมภวะ แห่งลัทธิมนตรยาน
ผู้รู้เวทมนตร์มากให้มาปราบลัทธิบอน ท่านคุรุปัทมสัมภวะใช้เวลา 1 ปีกว่า จึงปราบได้หมด
แล้วตั้งนิกายเนียงม่า (Nyiangma) หรือนิกายหมวกแดง และสร้างวัดสัมเยขึ้นเป็นศูนย์กลาง
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, อารยธรรมพุทธศาสนาในทิเบต, 2547 หน้า 20
2 บอน แปลว่า มนตร์ท่องบ่น หมายถึง ลัทธิวิญญาณนิยม (Animism) ซึ่งเชิงมานุษยวิทยาถือว่า วิญญาณสิงสถิต
อยู่ในสรรพสิ่งและมีเจตภูตอยู่ในธรรมชาติและปรากฏการณ์
142 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า