ข้อความต้นฉบับในหน้า
เกาหลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2453 ญี่ปุ่นส่งเสริมให้พระสงฆ์
มีครอบครัวได้ และสนับสนุนให้ดำรงชีวิตเหมือนฆราวาส ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นต้องการทำลาย
วัฒนธรรมของเกาหลีซึ่งถูกหล่อหลอมขึ้นจากคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา หากสามารถ
เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพระภิกษุได้ ก็จะทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมได้ด้วย
พระเกาหลีมีครอบครัว เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนการมีครอบครัว พระสงฆ์เกาหลี
จำนวนมากจึงเริ่มมีครอบครัวอย่างเงียบๆ เพราะช่วงแรกๆ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และ
ก่อนหน้านี้เคยมีผู้นำเสนอขอให้พระมีครอบครัวมาก่อนแล้วแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ ในปี
พ.ศ.2422 พระชาวเกาหลีชื่อ ฮันยองกัน ได้ยื่นฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นและคณะผู้บริหาร
ฝ่ายสงฆ์ เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกข้อห้ามภิกษุภิกษุณีมีครอบครัว โดยมีเหตุผลดังนี้
1) ถ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุมีครอบครัว ก็จะมีพระลาสิกขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้า
อนุญาต พระก็จะอยู่ในสมณเพศต่อไปได้ สามารถมีทายาทสืบพระพุทธศาสนาเพื่อแข่งขันกับ
ศาสนาอื่นได้ และในปัจจุบันพระที่มีครอบครัวโดยไม่เปิดเผยก็มีอยู่แล้ว จึงก่อให้เกิดความ
ละอายโดยไม่จําเป็น
2) พระอันยองกันอ้างว่า หลักคำสอนในศาสนาพุทธถือว่า การถือเพศพรหมจรรย์
หรือไม่ถือพรหมจรรย์ไม่ได้แตกต่างกันเลย การไม่ถือพรหมจรรย์นั้นจะทำให้พระภิกษุมี
ประสบการณ์ชีวิตในทางโลกเพิ่มขึ้น
ข้อเสนอนี้รัฐบาลไม่ได้อนุมัติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกระแสต่อต้านมีมากกว่า แต่ในที่สุด
เดือนตุลาคม พ.ศ.2469 สภาสงฆ์แห่งเกาหลีภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นมีมติเห็นชอบให้
พระเกาหลีมีครอบครัวได้ ผลการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความแตกแยก
ระหว่างพระภิกษุที่ถือพรหมจรรย์กับพระภิกษุที่มีครอบครัว
อย่างไรก็ตามพระที่มีครอบครัวต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างมาก
เนื่องจากต้องมีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ต้องทำงานแบบฆราวาส จึงไม่มีเวลาศึกษาพระธรรม
วินัย ไม่มีเวลาฝึกสมาธิ และเผยแผ่คำสอนพระพุทธศาสนา ที่สำคัญที่สุดอันเป็นความประสงค์
ของญี่ปุ่นคือ ไม่มีเวลาปลุกระดมมวลชนต่อต้านญี่ปุ่น จึงทำให้ปกครองง่าย
ในปี พ.ศ.2488 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหภาพโซเวียต และ
สหรัฐอเมริกาเข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น และแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน คือ เกาหลีเหนือ
(North Korea) และเกาหลีใต้ (South Korea)
สุชาติ หงสา, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, 2549 หน้า 116-117
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย
DOU 131