ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไม่เป็นอาบัติ” แต่พอลับหลัง พระวินัยธรกลับบอกพวกศิษย์ของตนว่า “พระธรรมกถูกต้องอาบัติ
ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ” พระธรรมกถึกทราบเรื่องจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน จะเห็นว่า แม้
ประเด็นเล็กๆ แต่ต่างฝ่ายต่างถือทิฏฐิว่าตนเองถูก อีกฝ่ายผิด และโจมตีกัน ก็อาจนำไปสู่การ
แตกแยก เป็นผลเสียหายต่อพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวงได้
หรืออย่างกรณีของพระเทวทัต ที่มีความคิดแปลกแยก คิดตั้งตนเป็นใหญ่ด้วยการ
ปกครองคณะสงฆ์เสียเอง จึงได้ตั้งกฎที่ภิกษุจะต้องประพฤติ 5 ข้อ เรียกว่าปัญจวัตถุ ประกาศ
ให้บริษัทของตนประพฤติแล้วนำเหล่าสานุศิษย์เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทูลขอให้ออก
พระพุทธบัญชา เป็นกฎสำหรับพระภิกษุทุก ๆ รูป คือ
1. ภิกษุพึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดไปสู่ละแวกบ้าน รูปนั้นมีโทษ
2. ภิกษุจึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดรับนิมนต์ รูปนั้นมีโทษ
3. ภิกษุจึงถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดรับผ้าจากคฤหบดี รูปนั้น
มีโทษ
4. ภิกษุจึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าสู่ที่มุงที่บัง รูปนั้นมีโทษ
5. ภิกษุไม่พึงฉันของสดคาว มีปลา เนื้อ เป็นต้นตลอดชีวิต รูปใดฉัน รูปนั้นมีโทษ
แต่พระบรมศาสดาทรงเห็นว่าเป็นการประพฤติเคร่งเกินไป จึงไม่ทรงอนุญาตตามที่ขอ
ทรงประสงค์ให้ภิกษุปฏิบัติได้ตามอัธยาศัย ภิกษุปฏิบัติได้ก็เป็นการดี ถ้าไม่ประสงค์ก็สามารถ
ปฏิบัติตามที่เห็นสมควรแก่สมณะ นับแต่นั้นมา พระเทวทัตกับบริวารก็แยกทำสังฆกรรมอีก
ส่วนหนึ่ง ไม่ร่วมกับใครๆ ภายหลังเมื่อสำนึกผิด จึงได้กลับมาขอขมาต่อพระบรมศาสดา แต่
มายังไม่ทันถึงก็มรณภาพเสียก่อน
เมื่อพิจารณาสภาพความเป็นอยู่ของภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มเป็นสำนัก
อาจารย์ต่าง ๆ ตามอัธยาศัยของตน ดังนั้นโอกาสที่จะแตกแยกกัน ก็ย่อมจะมีมากเป็นธรรมดา
แต่ทว่าในยุคสมัยพุทธกาลนั้นนอกจากจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปกครองดูแลสงฆ์ทั้งหมด
แล้ว ยังมีพระอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ รวมทั้งเหล่าสาวกองค์สำคัญ
เช่น พระอานนท์ พระอนุรุทธะ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ เป็นต้น คอยกำกับดูแล
เหล่าลูกศิษย์ของตน (สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก) และประการสำคัญคือ เหล่าพระสาวก
สาวิกาในยุคนั้นมีผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์กันเป็นจำนวนมาก ดังนั้นแม้ว่าจะเกิดการ
แตกความสามัคคีขึ้นบ้าง เหตุการณ์เหล่านั้นก็สามารถสงบลงได้โดยเร็ว และจะไม่บานปลาย
ใหญ่โตถึงขึ้นที่จะต้องแบ่งแยกเป็นนิกายแต่อย่างใด
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น อินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 79