การเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในกัมพูชา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 166
หน้าที่ 166 / 249

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในกัมพูชา เริ่มจากยุคฟูนัน (พ.ศ.600-1100) ซึ่งชาวฟูนันเคยนับถือลัทธิโลกธาตุก่อนที่จะหันมานับถือพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้า ศรีมาระและพระนาคเสน ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาในฟูนันรุ่งเรืองมาก มีการเดินทางไปสอนธรรมะ จนมีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนในเวลาต่อมา สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความสำคัญและแก่กล้าของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ โดยปรากฎในแหล่งข้อมูลหลายแห่ง เช่น จดหมายเหตุของจีน กลายเป็นมรดกทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ยั่งยืนในกัมพูชา

หัวข้อประเด็น

-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในกัมพูชา
-การเปลี่ยนผ่านจากลัทธิโลกธาตุสู่พระพุทธศาสนา
-บทบาทของพระเจ้า ศรีมาระ
-การส่งพระภิกษุไปสอนธรรมะที่จีน
-วัฒนธรรมและประเพณีของฟูนัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4 ศาสนาในกัมพูชาจึงค่อยๆ เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งถึงยุคประวัติศาสตร์กัมพูชา ยุค คือ ยุคฟูนัน เจนละ พระนคร และยุคปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ ยุคฟูนัน (พ.ศ.600-1100) คำว่า ฟูนัน (Funan) เป็นคำที่เรียกตามหลักฐานที่ ปรากฏในจดหมายเหตุของจีน ซึ่งเพี้ยนมา ซึ่งเพี้ยนมาจากภาษาเขมรว่า พนม หรือ ) วนม ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ภูเขา ในอดีตชาวฟูนั้นเคยนับถือลัทธิโลกธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และผีสางนางไม้ แต่ เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่สุวรรณภูมิแล้วชาวฟูนันจึงหันมานับถือพระพุทธศาสนา จนกระทั่ง พ.ศ.543 พราหมณ์ชาวอินเดียชื่อเกาณฑินยะรบชนะเผ่าฟูนันและได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระราชาปกครองพระนคร ในราชสำนักจะนับถือศาสนาพราหมณ์นิกายไศวะ ซึ่งเป็นศาสนา ดั้งเดิมของพระราชาเกาณฑินยะ แต่ประชาชนทั่วไปบ้างก็นับถือศาสนาพุทธบ้างก็นับถือ ศาสนาพราหมณ์ ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีมาระ พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาและทรงประกาศ ยกย่องให้เป็นศาสนาประจำชาติ มีศิลาจารึกเก่าแก่อายุราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงสั่งให้พระราชาผู้เสวยราชย์ต่อไปในอนาคตนับถือและสนับสนุนพระพุทธศาสนาด้วย ในยุคต่อมาพงศาวดารจีนบันทึกไว้ว่าพระราชายุคต่อมาก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาตามคำสั่งของ พระเจ้าศรีมาระ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงพระนาคเสนภิกษุชาวอินเดียซึ่งเดินทางไปอาณาจักรฟูนัน และเดินทางต่อไปเมืองจีนในปี พ.ศ.1027 ในครั้งนั้นพระนาคเสนกล่าวถวายพระพรต่อ พระเจ้ากรุงจีนว่า “ในประเทศฟูนันบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก ประชาชนนับถือศาสนา พราหมณ์ก็มี พระพุทธศาสนาก็มี พระพุทธศาสนานั้นรุ่งเรืองมาก มีพระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก และฝึกปฏิบัติตามวินัยอย่างเคร่งครัด” หลังจากนั้นไม่นานคือในปี พ.ศ.1046 กษัตริย์ฟูนั้นส่งราชทูตและพระภิกษุไปกรุงจีน อีก คือ พระสังฆปาละ และพระมันโตโล โดยพระพระสังฆปาละเป็นผู้รู้ภาษาศาสตร์หลายภาษา และทรงพระไตรปิฎก มีจริยวัตรงดงาม กิตติศัพท์เลื่องลือไปถึงพระเจ้ากรุงจีนคือ จักรพรรดิปู แห่งราชวงศ์เหลียง จึงนิมนต์ท่านไปสอนธรรมะและแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีน ท่านแปล พระไตรปิฎกอยู่นานถึง 16 ปี ชื่อทั้งสองท่านยังปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกจีนมาจนถึงปัจจุบัน 1-2 พระรวี ธมฺมจิโต, ผลกระทบต่อสงครามกลางเมืองต่อพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา ระหว่าง พ.ศ. 2513-2534, 2549 หน้า 19-20 พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย DOU 157
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More