อเล็กซานดรา เดวิด นีล และการแพร่หลายของพระพุทธศาสนาในฝรั่งเศส GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 212
หน้าที่ 212 / 249

สรุปเนื้อหา

อเล็กซานดรา เดวิด นีล เป็นพุทธศาสนิกชนชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง เธอใช้ชีวิตในทิเบตและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา เธอได้เขียนหนังสือมีชื่อเสียงหลายเล่มเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รวมถึงบทความในวารสาร Buddhist Review ที่นำเสนอแนวคิดเชิงวิจารณ์เกี่ยวกับความเชื่อและการกระทำในพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ.2472 นางสาวคอนสแตนท์ เลาร์เบอรี่ได้จัดตั้งพุทธสมาคมฝรั่งเศสเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เธอได้ศึกษาจากคัมภีร์บาลีและเขียนหนังสือเช่น Buddhist Meditation การเผยแผ่ของพุทธสมาคมฝรั่งเศสได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนากระจายไปในยุโรปและอเมริกา แต่สมาคมต้องยุติกิจการในปี พ.ศ.2512

หัวข้อประเด็น

-อเล็กซานดรา เดวิด นีล
-พระพุทธศาสนาในฝรั่งเศส
-การเผยแพร่พระพุทธศาสนา
-พุทธสมาคมฝรั่งเศส
-แนวคิดทางพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

A พุทธศาสนิกชนชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงมากในอดีตคือ อเล็กซานดรา เดวิด นีล (Alexandra David neel) ผู้มีจิตใจเด็ดเดี่ยว อดทน ไม่ย่นย่อต่อความยากลำบากใด ๆ ใช้ชีวิต อยู่ในทิเบตนานปี แต่งกายแบบชาวทิเบต รับประทานอาหารทิเบต ดำรงชีวิตเรียบง่ายแบบ ชาวทิเบต จนเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาทิเบตและพระพุทธศาสนาทิเบต เธอกล่าวว่า ถ้าหากว่า สตรี เพศมิใช่เพศต้องห้ามสำหรับสมณเพศของทิเบตแล้ว ข้าพเจ้าคงบวชเป็นสมณะ ปฏิบัติธรรมใน วัดทิเบตได้สมบูรณ์แบบแน่นอน เธอเขียนหนังสือพระพุทธศาสนาเผยแพร่ 15 เล่ม เป็นภาษา ฝรั่งเศส 10 เล่ม ภาษาเยอรมัน 5 เล่ม เช่น หนังสือ Buddhism, Its Doctrines and Methods, หนังสือ My Journey to Lhasa, With Mystics and Magicians, หนังสือ Tibetan Journey เป็นต้น หนังสือทุกเล่มของอเล็กซานดรา เดวิด นีล ได้รับการแปลเป็นภาษาโปแลนด์ สวีเดน เชกโก- สโลวาเกีย และภาษาสเปน อเล็กซานดรา เดวิด นีล เขียนบทความเรื่อง Buddhism and Social Problems ลง พิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Buddhist Review ที่กรุงลอนดอน ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ.2453 มีใจความตอนหนึ่งว่า “จงเชื่อในความเชื่อที่ว่า ตัวท่านต้องยอมรับในสิ่งที่เป็นจริง และมีเหตุผลถูกต้อง....จงอย่าเชื่อสิ่งใดที่เป็นอำนาจของคนอื่น....การกระทำที่มีผลคือการกระทำ ที่ท่านได้วิเคราะห์ถูกต้องแล้ว และได้ปรากฏชัดว่า สามารถปฏิบัติได้ตามหลักเหตุผล นำไปสู่ สวัสดิภาพของตนเองและคนอื่น....ท่านจงเป็นประทีปให้แก่ตนเองเถิด (และ) พระพุทธเจ้าตรัส สั่งสอนว่า ขอท่านทั้งหลาย จงท่องเที่ยวไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มหาชนด้วยจิต เมตตาเถิด...พระบรมครูของเราตรัสไว้ดังนี้ ชัดเจนยิ่งนัก ไม่ต้องมัวเสียเวลาอภิปรายความ หมายของพระดำรัสนี้อีกต่อไป จงไปเถิด ไปเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขของมหาชน.... ในปี พ.ศ.2472 นางสาวคอนสแตนท์ เลาร์เบอรี่ (Constant Lounsbery) นางพยาบาล ชาวอเมริกันได้จัดตั้งพุทธสมาคมฝรั่งเศส (Les Amis du Buddhisme) สมาคมนี้เผยแผ่ พระพุทธศาสนาเถรวาท พลังจูงใจสำคัญที่ผลักดันให้เธอตั้งพุทธสมาคมฝรั่งเศสขึ้นก็คือ เธอได้ พบความทุกข์ยากของคนไข้จึงทำให้เธอสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์ภาษาบาลีและ ปฏิบัติสมาธิทุกวัน วันละหลายชั่วโมง เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการสอนในชั้นเรียน บรรยาย เขียนบทความ และเขียนหนังสือ เช่น หนังสือ Buddhist Meditation เป็นหนังสือที่ แพร่หลายมากในยุโรปและอเมริกา พุทธสมาคมฝรั่งเศสได้ออกวารสารรายปักษ์ชื่อ La Pensee Buddhiqueแต่เป็นที่น่าเสียใจยิ่งนักที่พุทธสมาคมฝรั่งเศสได้ยุติกิจการลงในเดือนธันวาคมพ.ศ.2512 1 พันเอก (พิเศษ) นวม สงวนทรัพย์, เมธีตะวันตกชาวพุทธเล่ม 2, หน้า 32, 35 พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ตะวันตก DOU 203
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More