ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไปวัดทำบุญตามเทศกาลตามประเพณีเท่านั้น
ขณะเดียวกัน ก็มีพระภิกษุสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ได้หันไปปฏิบัติ
ตามใจชาวบ้าน ซึ่งต้องการพึ่งพาอำนาจลึกลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการเล่นเครื่องรางของขลัง
เวทมนตร์คาถาต่างๆ วัตรปฏิบัติย่อหย่อนลง จนถึงจุดหนึ่งเกิดเป็นนิกายตันตระ ซึ่งเลยเถิดไป
ถึงขนาดถือว่า การเสพกามเป็นหนทางสู่การตรัสรู้ธรรม การดื่มสุราเป็นสิ่งดี เป็นต้น
เมื่อเกิดความแตกแยกภายในพระพุทธศาสนา ทั้งในเรื่องของแนวคิดทฤษฎีที่ทะเลาะ
เบาะแว้งกันไม่จบสิ้น จนถึงการแตกเป็นกลุ่มเวทมนตร์คาถาซึ่งฉีกแนวทางไปอย่างสุดโต่ง
ในขณะที่ธรรมปฏิบัติอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนากลับถูกละเลยไป พระพุทธศาสนาใน
อินเดียจึงอ่อนแอลง
2. สาเหตุภายนอก
ในอินเดีย นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังมีศาสนาอื่น ๆ อีกมาก โดยศาสนา
พราหมณ์มีอิทธิพลมากที่สุด เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้น คนหันมานับถือมาก
ศาสนาพราหมณ์ก็ลดบทบาทลง ผู้นำของศาสนาพราหมณ์ก็พยายามหาทางดึงศาสนิกกลับคืน
อยู่ตลอดเวลา โดยการโจมตีพระพุทธศาสนาบ้าง พยายามหยิบยกเอาคำสอนของพระพุทธ
ศาสนาไปดัดแปลงเป็นคำสอนของตนบ้าง ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเทพเจ้าที่นับถืออยู่บ้าง จนที่สุด
ได้กลายเป็นศาสนาฮินดูดังตำราเรียนเรื่องศาสนา เมื่อกล่าวถึงศาสนาฮินดู ก็มักจะมีคำว่า
พราหมณ์ควบคู่กันไปเสมอ
เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธศาสนาเสื่อมลงเนื่องจากความแตกแยกภายในแล้ว ก็ได้มีการ
เปลี่ยนวิธีการ จากการโจมตีพระพุทธศาสนา มาเป็นการผสมกลมกลืน โดยมีปราชญ์ใหญ่ชื่อ
ศังกระ (ประมาณปี พ.ศ. 1280) เป็นผู้นำในการปฏิรูปศาสนาฮินดู มีการเลียนแบบวัดใน
พระพุทธศาสนา สร้างที่พักนักบวชในศาสนาฮินดูเรียกว่า มถะ เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่
ศาสนาฮินดูขึ้นเป็นครั้งแรก” ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนเนืองๆ อีกมากมาย ถึงขนาดมีการปรับ
คำสอนบอกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือองค์อวตารปางที่ 9 ของพระวิษณุ แล้วนับเอาผู้ที่
เคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าเป็นชาวฮินดูทั้งหมด
1 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้นมีวิวัฒนาการสืบทอดกันมาตามลำดับ โดยมีศาสนาพราหมณ์เป็นรากฐาน ช่วงที่ยัง
เป็นศาสนาพราหมณ์นั้นอยู่ในช่วงก่อนพุทธกาล ครั้นหลังพุทธกาลพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ศาสนาพราหมณ์ซึ่ง
กำลังซบเซา จึงได้วิวัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นศาสนาฮินดู
3
2 Mayeda, Sengaku. History of Indian Philosophy, 1991 p.73-75
Jamanada, K. Decline and Fall of Buddhism (A tragedy in Ancient India) Chapter 1 p.1
104 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา