ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ผู้ปกครองรัฐต่าง ๆ
เช่น พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าจัณฑปัชโชต และพระเจ้าอุเทน ทรง
ยอมรับพระพุทธศาสนา หลังจากพุทธกาลพระพุทธศาสนาก็ได้ขยายตัวไปตามลำดับ และ
200 ปีเศษหลังพุทธกาล พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงไปในอินเดียในยุคของพระเจ้า
อโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ และพระเจ้าหรรษวรรธนะ
เป็นต้น กษัตริย์เหล่านี้ทรงส่งเสริมความก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาทั้งในอินเดียและ
ในต่างประเทศ
โดยเฉพาะพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์เป็นคนแรกที่ทำให้พระพุทธศาสนากลาย
เป็นศาสนาของโลก ทรงแผ่ขยายพระศาสนาไปจนทั่วทุกทิศของอินเดีย และนำไปยังลังกา
กัษมิระ และคันธาระ ทั้งยังส่งสมณทูตไปยังกษัตริยกรีกในสมัยของพระองค์อีกด้วย
ภายหลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตไปแล้ว 50 ปี ราชวงศ์โมรยะของ
พระองค์ก็ล่มสลาย พระพุทธศาสนาจึงตกอยู่ในสภาพไร้กษัตริย์อุปถัมภ์ และกลับมาสู่ยุคทอง
อีกครั้งในปี พ.ศ.621 ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้ากนิษกะ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.700 ราชวงศ์
กุษาณะของพระเจ้ากนิษกะหมดอำนาจในการปกครองอินเดีย กงล้อแห่งพระพุทธศาสนาจึง
หมุนกลับมาสู่สภาพไร้ราชูปถัมภ์อีกครั้ง เมื่อราชวงศ์คุปตะมีอำนาจปกครองแคว้นมคธ กษัตริย์
ราชวงศ์นี้นับถือศาสนาพราหมณ์กระทั่งมาถึงยุคของกษัตริย์ผู้จงรักภักดีและเปี่ยมด้วยศรัทธาต่อ
พระพุทธศาสนาองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงครองราชสมบัติเมื่อราวปี พ.ศ. 1100
พระเจ้าหรรษวรรธนะแผ่อำนาจครองแผ่นดินภาคเหนือทั้งหมด พระองค์เสด็จสวรรคตในราวปี
พ.ศ.1190 จากนั้นเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาจึงโดดเดี่ยวอยู่ท่ามกลางศัตรูคู่แค้น คือศาสนา
ฮินดู ตกอยู่ในภาวะไร้ราชูปถัมภ์ ไม่มีผู้ปกป้องผองภัย เมื่อพระพุทธศาสนาสูญสิ้นราชูปถัมภ์
กษัตริย์ต่างศาสนาจึงใช้อำนาจมหาศาลที่ตนมีอยู่เข้าทำลายล้างผลาญโดยไม่ยั้งมือ
ความรุ่งเรืองและอับเฉาของพระพุทธศาสนาในอินเดีย ขึ้นอยู่กับว่าในยุคใดสมัยใด
กษัตริย์ให้ความอุปถัมภ์สนับสนุน ยุคนั้นสมัยนั้นพระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง แต่ยุคใด
เป็นไปในทำนองตรงกันข้าม คือหากขาดความอุปการะจากผู้ทรงอำนาจในแผ่นดิน ยุคนั้น
พระพุทธศาสนาก็จะประสบกับภาวะซบเซา
1 เอ็ดเวอร์ด คอนซ์, พุทธศาสนา: สาระและพัฒนาการ, 2530 หน้า 92,93
* ดี.ซี. อหิระ, สาเหตุความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดียหน้า, 2542 หน้า 113,114
3 พระมหานิกร สุวรรณดี (2544) “การศึกษาวิเคราะห์หลักความเชื่อเรื่องระบบวรรณะของชาวฮินดูในประเทศไทย”,
วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, มหาวิทยาลัยมหิดลหน้า 140
พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 101