ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ และมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา สภาแห่งชาติ
ของภูฏานเรียกว่า Tsongdu ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 151 คน จำนวน
106 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และอีก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ชาวภูฏานมีเทศกาลที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งคือ เทศกาลเตซู (Tsechu) ซึ่งจัด
ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อระลึกถึงการกำเนิดของท่านคุรุปัทมสัมภวะ ผู้ได้รับการกล่าวขานว่าถือ
กำเนิดมาจากดอกบัวตามความเชื่อในพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน เทศกาลนี้จะจัดขึ้นทุกปี
หมุนเวียนไปตามปฏิทินทางจันทรคติ ในเทศกาลจะมีการแสดงระบำหน้ากาก โดยพระลามะ
ผู้แตกฉานในตำราวัชรยาน จะสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงามหลากหลายด้วยหน้ากากแห่งทวยเทพ
ปีศาจ และเหล่าสรรพสัตว์
3. ประเทศบังกลาเทศ
บังกลาเทศมีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (Peoples Republic
of Bangladesh) คำว่า “บังกลาเทศ (Bangladesh)” แปลว่า “ประเทศแห่งเบงกอล” ตั้งอยู่ทาง
ทิศเหนือของอ่าวเบงกอล มีพรมแดนติดกับอินเดียเกือบทุกด้าน เมืองหลวงชื่อ ธากา เป็นเมือง
ใหญ่สุด บังกลาเทศมีประชากรประมาณ 141,822,000 คน (พ.ศ.2548) นับถือศาสนา
อิสลาม 88.3% ศาสนาฮินดู 10.5% ศาสนาคริสต์ 0.7% ศาสนาพุทธ 0.5% ส่วนมากอยู่ใน
เขตจิตตะกอง ซึ่งมีตระกูลชาวพุทธที่สืบเนื่องมายาวนานคือตระกูลบารัว
บังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ
อินเดีย เคยเป็นดินแดนที่ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ต่อมาพ่อค้า
ชาวอาหรับนำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
มาถึงทุกวันนี้
ปี พ.ศ.2300 อังกฤษเข้ายึดครองอินเดียและปกครองอยู่เกือบ 200 ปี ได้คืนเอกราช
ให้อินเดียในปี พ.ศ.2490 แต่แบ่งดินแดนออกเป็น 2 ส่วน คือ อินเดีย และปากีสถาน เบงกอล
ตะวันออก (East Bengal) หรือส่วนที่เป็นบังกลาเทศปัจจุบัน เป็นจังหวัดหนึ่งของปากีสถาน
เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก ต่อมาชาวปากีสถานตะวันออกไม่พอใจการบริหารงานของ
รัฐบาลกลาง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2514 จึงประกาศแยกตัวออกมา และได้รับเอกราช
· จิตตะกอง เป็น 1 ใน 6 เขตปกครองของบังกลาเทศ คือ เขตชุลนะ เขตจิตตะกอง เขตซิลเหต เขตธากา
เขตบาริสาล และเขตราชชาหิ
2 วิกิพีเดีย (2549), ศาสนาในบังกลาเทศ. (ออนไลน์)
116 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า