ข้อความต้นฉบับในหน้า
รศ.นันทนา กปิลกาญจน์ กล่าวไว้ว่า “ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาอดีตอย่าง
เป็นระบบ ครอบคลุมและแทรกซึมอยู่ในทุกสาขาวิชา จะไม่มีวิชาใดที่มีลักษณะเป็นวิชาขึ้นได้
โดยไม่อาศัยประวัติศาสตร์เลย
ในทางนิติศาสตร์ก็ต้องศึกษาถึงอดีตและการตัดสินคดีในอดีต
ในทางแพทย์ศาสตร์ก็ต้องศึกษาถึงลักษณะอาการของโรคและวิธีการรักษาจากอดีต เราต้องมี
วิชาประวัติปรัชญา ประวัติสังคมวิทยา ประวัติการเกษตร เป็นต้น วิชาประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่
ศึกษาเฉพาะสิ่งที่บันทึกอยู่ในตำราหรือในหนังสือประวัติศาสตร์เท่านั้น ประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้
จดบันทึกนั้นมีมากกว่าประวัติศาสตร์ที่จดบันทึกเอาไว้เป็นหมื่นเป็นแสนหรือเป็นล้านเท่า
จากความหมายของประวัติศาสตร์ที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า คำว่า “ประวัติศาสตร์”
มีความหมายใน 2 ลักษณะคือ
"1
1) ประวัติศาสตร์ หมายถึงเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ
หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
2) ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้า
แสวงหาหลักฐานมารวบรวม วิเคราะห์ ตีความหมาย และเรียบเรียงขึ้น โดยหยิบยกขึ้นมา
ศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ
ประวัติศาสตร์ในความหมายประการที่ 2 นั้น เริ่มต้นจากมีเหตุการณ์หรือพฤติกรรม
มนุษย์เกิดขึ้นซึ่งมีมากและเกิดขึ้นตลอดเวลา ส่วนใหญ่มักถูกลืมหรือผ่านไปโดยไม่มีใครสังเกต
ฉะนั้นประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยผู้บันทึก ผู้สังเกต และผู้จดจำสร้างหลักฐานไว้ โดยหลักฐาน
นั้นอาจจะเป็นคัมภีร์ ตำรา ภาพวาด โบราณสถาน โบราณวัตถุ พงศาวดาร ศิลาจารึก เป็นต้น
ผู้สร้างหลักฐานนี้จะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีผู้รับผิดชอบโดยตรง และเมื่อเกิดหลักฐาน
ขึ้นแล้ว ประวัติศาสตร์จำต้องอาศัยนักประวัติศาสตร์ ทำหน้าที่รวบรวม ตรวจตรา พิจารณา
ไตร่ตรอง ตีความหมายของหลักฐานผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์ในชีวิตมาวิเคราะห์
และเรียบเรียงขึ้น
แต่สิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้คือ ความจริงที่ว่าวันหนึ่ง ๆ มีการกระทำของมนุษย์มากมาย
และไม่มีใครสามารถจำลองอดีตมาได้โดยสมบูรณ์ ฉะนั้นเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์
เรียบเรียงขึ้นจึงเป็นเรื่องราวเพียง 1 ใน 100 หรือ 1 ใน 1,000 ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และ
ไม่แน่เสมอไปว่าจะถูกต้องที่สุดหรือสำคัญที่สุด หากแต่เป็นเพียงเรื่องราวของความสัมพันธ์
ระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการตีความหมายในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ใน
1 นันทนา กปิลกาญจน์, ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก, 2539 หน้า 3
บทนำา
DOU 5