ข้อความต้นฉบับในหน้า
- จะศึกษาธรรมทั้งหลายให้ถ่องถ้วน (คือศึกษาให้หมดและแตกฉาน)
- จักโปรดสัตว์ทั้งหลายให้หมด
- จะต้องบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (บรรลุพุทธภูมิ)
4) อุดมคติ 3 คือ
- หลักมหาปัญญา เป็นผู้รู้แจ้งในสุญญตาทั้ง 2 คือ บุคคลสุญญตา และธรรม
สุญญตา พิจารณาเห็นความว่างในบุคคลและธรรม ไม่ตกอยู่ในอำนาจกิเลส
- หลักมหากรุณา คือ มีจิตใจกรุณาต่อสัตว์ไม่มีขอบเขต พร้อมที่จะเสียสละตนเอง
ทนทุกข์แทนสรรพสัตว์ เพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
- หลักมหาอุบาย คือ ต้องมีกุศโลบายอันชาญฉลาด ในการแนะนำอบรมสั่งสอน
ผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ให้เข้าถึงธรรม
อุดมคติของพระโพธิสัตว์ทั้งสามข้อนี้ นับเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
ข้อแรกหมายถึงการบำเพ็ญประโยชน์ของตนให้เพียบพร้อมสมบูรณ์ ส่วนสองข้อหลัง เป็นการ
บำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น เมตตาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ และเป็นการสืบอายุพระศาสนาพร้อมทั้ง
เผยแผ่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้แพร่หลาย
ในพระพุทธศาสนามหายาน ความเป็นพระอรหันต์ก็ยังนับว่าด้อยกว่าพระโพธิสัตว์
เพราะเป็นการเอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียว มิได้ช่วยเหลือผู้อื่นในระหว่างการบำเพ็ญเพียรของตน
แต่พระโพธิสัตว์ผู้มุ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิเป็นผู้ที่เสียสละอย่างยิ่ง ไม่ยอมบรรลุโพธิในทันที
เพราะอาศัยความกรุณาเป็นที่ตั้งจึงปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นก่อน ความคิดที่เน้นการ
เสียสละช่วยเหลือแก่ผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากลำบากของตัวเอง จึงทำให้อุดมคติ
พระโพธิสัตว์มีความโดดเด่นเหนือกว่าอุดมคติพระอรหันต์ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกลายเป็นแกนกลางคำสอนทั้งหมดของฝ่ายมหายานในที่สุด
เมื่อพิจารณาจากหลักการและความเชื่อของมหายานที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เราจะ
เห็นภาพรวมของคำสอนที่มีลักษณะพิเศษอันเป็นเอกลักษณ์ของฝ่ายมหายานโดยเฉพาะ หลัก
คำสอนเหล่านี้สำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายเถรวาทอาจมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากเพราะห่าง
ไกลจากคำสอนดั้งเดิมในฝ่ายเถรวาท ทั้งๆ ที่จริงแล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคำสอน
ของเถรวาททั้งหมด
90 DOU ประวัติศาสตร์ พระพุทธ ศาสนา