ข้อความต้นฉบับในหน้า
เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.793 โดยพระภิกษุอินเดียชื่อ พระธรรมกาละ เดินทางไปจีนเหนือถึง
เมืองโลยาง ทำพิธีผูกพัทธสีมาขึ้นและให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรจีน
ในยุคราชวงศ์จิ้น พวกมองโกลได้แผ่อิทธิพลมาทางภาคเหนือของจีน เข้ายึดลุ่มแม่น้ำ
เหลืองไว้หมด ทำให้จีนแบ่งเป็นภาคเหนือ และใต้ เรียกว่า ยุคนปัก (พุทธศตวรรษที่ 8-11)
ภาคเหนือเป็นมองโกล ส่วนภาคใต้เป็นจีนแท้ มีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นพรมแดน ในยุคปักนี้
สมณะเส็งเจียนนำคัมภีร์มหาสังฆิกะ ภิกษุณีกรรมัน และภิกษุณีปาฏิโมกข์ มายังเมืองโลยาง
และได้อุปสมบทภิกษุณีรูปแรกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.900-904 คือ ภิกษุณีจิงเจียน ณ ภิกษุณี
อารามจูหลิน เมืองโลยาง
ในสมัยพระเจ้าปุ๋ยบูเต้แห่งจีนเหนือทรงหลงเชื่อลัทธิเต๋าว่า จะทำยาอายุวัฒนะให้เสวย
แล้วจะมีพระชนม์ 10,000 ปี แต่นักบวชเต๋าขอให้พระองค์ทำลายพระพุทธศาสนาเสีย พระเจ้า
ปุ๋ยบูเต้จึงตรัสสั่งทำลายวัดและประหารพระสงฆ์ ในครั้งนั้นพระราชโอรสซึ่งเป็นพุทธมามกะได้
ส่งสายลับไปเตือนพระสงฆ์ให้หนีไปก่อน พระภิกษุส่วนใหญ่จึงรอดตาย แต่วัดถูกทำลายไป
30,000 กว่าวัด
หลังจากการสรรคตของพระเจ้าปุ๋ยบูเต้ พระราชนัดดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์
สืบต่อไป กษัตริย์พระองค์นี้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ.929-พ.ศ.1077 ทรง
สร้างถ้ำตุนหวงขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระกัมมัฏฐาน ยุคต่อมามีการสร้างเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ หลายร้อยปี จนกลายเป็นสถานที่มหัศจรรย์ มีถ้ำน้อยใหญ่กว่า 400 ถ้ำ ถ้ำทั้งหมดขุด
ด้วยแรงงานคน ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ชาวพุทธในอดีตหาวิธีป้องกันไม่ให้พระสัทธรรม
อันตรธาน จึงจารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นผาภายในถ้ำต่าง ๆ แล้วปิดประตูถ้ำด้วยก้อนศิลา โดย
หวังให้คนยุคหลังได้ศึกษา ปัจจุบันถ้ำนี้ตั้งอยู่กลางทะเลทรายโกบี เมืองตุนหวง มณฑลกาน
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนถึงสมัยพระเจ้าเหลียงบูเต้ทรงครองราชย์
พ.ศ. 1022 ณ เมืองนานกิง ภาคใต้ของจีน พระองค์ได้รับฉายาว่าเป็นอโศกแห่งแผ่นดินจีน
ยุคสมัยของพระองค์มีนักบวชจำนวนมาก เฉพาะเมืองโลยาง มีภิกษุและภิกษุณีถึง 2,000,000
รูป พระต่างชาติอีก 3,000 รูป พระเจ้าเหลียงบูเต้ทรงถือมังสวิรัติ ทรงออกกฎหมายห้ามฆ่า
สัตว์ทั่วประเทศ พระภิกษุจึงหันมาฉันเจหรือมังสวิรัติตามพระราชาจนเป็นประเพณีมาถึงปัจจุบัน
พระองค์ทรงศึกษาธรรมะและแสดงธรรมด้วยพระองค์เองอยู่เนือง ๆ ทรงอุทิศพระองค์เป็น
- เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม 1, 2539 หน้า 197-198
สุชาติ หงษา, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, 2549 หน้า 56-78
2-3
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ในเอเชีย
DOU 123