ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนาคริสต์เป็นอย่างดี จึงทำให้การบรรยายของเขาน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง พันเอกเฮนรี่ สตีล
โอลคอตต์ เป็นคนสำคัญที่ร่วมก่อตั้งสมาคม Theosophical Society ขึ้น สมาคมนี้มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อเผยแพร่ปรัชญาทางพระพุทธศาสนา หนึ่งในสมาชิกสมาคมนี้คือ เอ็ลเฟร็ด เดียคิน (Alfred
Deakin) ซึ่งต่อมาเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรเลียถึง 3 สมัย เอ็ลเฟร็ด เดียคน
เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียและศรีลังกาเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในปี
พ.ศ.2433 เขาได้เผยแพร่หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเล่มหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจาก
ประสบการณ์ที่ได้จากการเยือนถิ่นพระพุทธศาสนาในครั้งนั้น
การเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคแรกในออสเตรเลีย กระทำโดยฆราวาสเป็นหลัก
จนกระทั่งปี พ.ศ.2453 พระภิกษุชาวพม่ารูปแรกได้เดินทางไปออสเตรเลีย จึงเป็นจุดเริ่มต้น
ให้พระภิกษุจากเอเชียประเทศต่าง ๆ ตามเข้าไปภายหลัง เพื่อยังความสว่างทางปัญญาให้
เกิดขึ้นแก่ชาวออสเตรเลีย นับตั้งแต่บัดนั้นได้เกิดองค์กรทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายแห่ง
เช่น ในปี พ.ศ.2481 เล็น บูลเล็น (Len Bullen) ก่อตั้งกลุ่มผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นที่เมือง
เมลเบิร์น ในปี พ.ศ.2496 สมาคมพระพุทธศาสนาแห่งวิกตอเรียก็ได้รับการก่อตั้งขึ้น และที่
สำคัญในปี พ.ศ.2501 มีการก่อตั้งสหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลียขึ้น ซึ่งสหพันธ์นี้
เติบโตรวดเร็วมาก ขยายสาขาไปหลายแห่ง เช่น ออสเตรเลียตะวันตก ออสเตรเลียใต้ ควีนส์แลนด์
และรัฐวิกตอเรีย
ก่อนถึงปี พ.ศ.2513 มีพระภิกษุจากศรีลังกาชื่อ โสมะโลกะ (Somaloka) เดินทาง
เข้าไปประกาศพระศาสนา ท่านได้ก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาแห่งนิวเซาท์เวลส์ขึ้นในปี
พ.ศ.2514 โดยสร้างขึ้นที่ Blue Mountains ทางตะวันตกของเมืองซิดนีย์ (Sydney) สมาคมนี้
ได้ขยายศูนย์สาขาเพิ่มขึ้นอีกมากมาย สำหรับชาวพุทธจากประเทศไทยก็ได้เข้าไปเผยแผ่เช่นกัน
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2527 ได้สร้างวัดธรรมรังษีขึ้นด้วยความร่วมมือจากชาวพุทธ
นานาชาติ วัดนี้อยู่ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำการเปิดสอบ
ธรรมศึกษาเป็นวัดแรกของประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนภาษาไทย ศิลป
วัฒนธรรมไทย รำไทย และอื่นๆ ให้กับชาวต่างชาติและชาวไทยอีกด้วย ภายหลังชาวพุทธไทย
ก็ได้สร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง
SGIA History (2549).Soka Gakkai International Australia. (ออนไลน์)
หมายเหตุ ข้อมูลใน www.buddhanet.net มีจำนวนกลุ่ม SGI ในประเทศออสเตรเลียอยู่เพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้
เพราะจากที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่าเป็นการยากที่จะรวบรวมข้อมูลองค์กรทางพระพุทธศาสนาทุกนิกายได้ครบถ้วน
และทันสมัยตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาในปัจจุบันมีหลายนิกายกระจายอยู่ทั่วโลก
พระพุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ตะวันตก DOU 219