การทำสังคายนาครั้งที่ 2 และวินัยภิกษุชาววัชชี GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 82
หน้าที่ 82 / 249

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ซึ่งมีการพิจารณาเกี่ยวกับวัตถุ 10 ประการที่ภิกษุชาววัชชีถือว่าไม่ผิดธรรม และรวมถึงการโต้ตอบจากพระสัพพกามีซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจมีผลต่อการปฏิบัติภายในพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ตามหลักพระวินัยที่มีการกำหนดไว้ ทั้งนี้มีการเชื่อมโยงเหตุการณ์กับหลักการและข้อตกลงก่อนหน้านี้ในทางธรรม เพื่อทำความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในวิถีของพระสงฆ์ เช่น การเก็บอาหาร, การฉันในเวลาที่กำหนด, การทำอุโบสถ และการปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์

หัวข้อประเด็น

-การทำสังคายนาครั้งที่ 2
-วินัยภิกษุชาววัชชี
-ความสำคัญของพระวินัย
-การฉันอาหารในพระพุทธศาสนา
-ข้อโต้ตอบจากพระสัพพกามี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บันทึกเหตุการณ์สำคัญ : การทำสังคายนาครั้งที่ 2 ปรารภเรื่องวัตถุ 10 ประการที่ภิกษุชาววัชชีนำประพฤติปฏิบัติ โดยถือว่าไม่ผิดธรรมไม่ผิดวินัย ซึ่งมีใจความดังนี้ 1. ภิกษุชาววัชชี: ภิกษุเก็บเกลือไว้ในเขนงแล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้ ไม่เป็นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: การเก็บเกลือไว้ในเขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลงในอาหารฉัน นั้นเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเป็นการสะสมอาหารตามโภชนสิกขาบท) 2. ภิกษุชาววัชชี: ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง 2 องคุลีก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: ภิกษุฉันโภชนะในเวลาวิกาล เมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว 2 องคุลี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล) 3. ภิกษุชาววัชชี: ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่บ้าน จะฉัน อาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ทำวินัยกรรมได้ ไม่เป็นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า : ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหารเข้าไปในบ้าน แล้ว ฉันโภชนะที่เป็นอนาริตตะ (ไม่เป็นเดน) ผิด เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉัน อาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้) 4. ภิกษุชาววัชชี: ในอาวาสเดียวกันมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกทำอุโบสถได้ ไม่เป็นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิดหลักที่ทรง บัญญัติไว้ในอุโบสถขันธกะ ใครขึ้นทำต้องอาบัติทุกกฎ) 5. ภิกษุชาววัชชี: ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกัน จะทำ อุโบสถไปก่อนก็ได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้ ไม่เป็นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วยคิดว่า ให้พวกมาทีหลังอนุมัติ ทั้งที่ สงฆ์ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากันผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยยขันธกะ ต้องอาบัติ ทุกกฎ) 6. ภิกษุชาววัชชี: การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูก พระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า : การประพฤติปฏิบัติ ด้วยเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจารย์ของเรา เคยประพฤติมาอย่างนี้ ไม่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะท่านเหล่านั้นอาจประพฤติผิด พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 73
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More