การต่อต้านพระพุทธศาสนาในยุคโบราณ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 90
หน้าที่ 90 / 249

สรุปเนื้อหา

ในสมัยโบราณ พระพุทธศาสนาได้ขยายศรัทธาและถูกต่อต้านจากพราหมณ์ เนื่องจากไม่ยอมรับคัมภีร์พระเวท ปฏิเสธระบบวรรณะ และมีคำสอนที่เน้นการเข้าถึงสัจธรรม ทำให้มีผู้สนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พราหมณ์ได้พยายามทำลายพระพุทธศาสนา เช่น สังหารพระภิกษุและฟื้นฟูลัทธิของตน แต่พระพุทธศาสนายังคงยืนหยัดและเติบโตในความนิยมในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช สู่ยุคที่ศาสนาพราหมณ์กลับมีอำนาจอีกครั้งหลังจากการสิ้นสุดของราชวงศ์เมารยะ

หัวข้อประเด็น

-การต่อต้านพระพุทธศาสนา
-การบ่อนทำลายโดยพราหมณ์
-อำนาจของพระเจ้าอโศก
-การฟื้นฟูศาสนาพราหมณ์
-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในสมัยนั้นประชาชนนับถือศาสนาพราหมณ์กันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้พระพุทธศาสนากลายเป็นที่ สนใจของประชาชน และมีผู้หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนากันมากมาย และขยายศรัทธา ออกไปในวงกว้าง สร้างความสั่นสะเทือนจนถึงขั้นรากฐานกับศาสนาพราหมณ์และเจ้าลัทธิ ทั้งหลาย พระพุทธศาสนาจึงถูกต่อต้านโจมตี และบ่อนทำลายอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุผลสำคัญ ที่เป็นแรงจูงใจ ดังนี้ 1. พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับคัมภีร์พระเวท (อไวทิกวาทะ) 2. พระพุทธศาสนามีคำสอนและแนวทางปฏิบัติที่เน้นศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้ผู้ แตกต่างไปจากที่พวกพราหมณ์และ ปฏิบัติสามารถเข้าถึงสัจธรรมความจริงได้ด้วยตนเอง คณาจารย์ทั้งหลายสอนกันอยู่ในสมัยนั้น 3. พระพุทธเจ้าปฏิเสธระบบวรรณะที่พวกพราหมณ์บัญญัติขึ้น ไม่ยอมรับฐานะของ พวกพราหมณ์ที่ใคร ๆ ต่างยกย่องว่าสูงส่ง 4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพระพุทธศาสนา ดังนั้น พวกพราหมณ์ได้พยายามทุกวิถีทางในการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาเพื่อหา ทางดึงศาสนิกกลับคืน แต่ผลปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ เผยแผ่ไปอย่างกว้างขวางเป็นที่ยอมรับของประชาชน และได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ แต่ครั้นเมื่อราชวงศ์เมารยะดับสูญ อำมาตย์บุษยมิตรแห่งราชวงศ์ศุงคะก็ได้ปกครอง อินเดียสืบต่อมา กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเลื่อมใสในศาสนาฮินดูมากเพราะทรงเป็นพราหมณ์มา ก่อน ดังนั้นคนในวรรณะพราหมณ์จึงมีโอกาสได้ขึ้นเป็นใหญ่ ศาสนาพราหมณ์ซึ่งรอจังหวะที่จะ ทำลายพระพุทธศาสนาอยู่แล้วจึงถือโอกาสอาศัยอำนาจทางการเมืองทำลายพระพุทธศาสนาและ ฟื้นฟูลัทธิศาสนาของตนเป็นการใหญ่ แม้แต่พระเจ้าปุษยมิตรเองก็แสดงพระองค์ว่าเป็น ปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ถึงกับมีการกวาดล้างพระพุทธศาสนา ทำร้ายคณะสงฆ์ และทำลายวัดวาอารามของพระพุทธศาสนา โดยตั้งรางวัลให้แก่ผู้ตัดศีรษะพระภิกษุ ฟื้นฟูการ บูชายัญโดยโปรดให้ทำพิธีอัศวเมธ (การฆ่าม้าบูชายัญ) เพื่อจูงใจให้ประชาชนมานับถือ ศาสนาพราหมณ์เพิ่มมากขึ้น การพยายามกวาดล้างพระพุทธศาสนาของพระเจ้าปุษยมิตร แม้ไม่อาจทำลาย 1 เสรี วุฒิธรรมวงศ์ ผ่าปมปัญหาพุทธ ฮินดู, 2540 หน้า 3-4 พระพุทธศาสนาในอินเดีย หลังยุค พุ ท ธ ก า ล DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More