การศึกษาโดยการใช้ความจำและความเข้าใจในประวัติศาสตร์ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หน้า 20
หน้าที่ 20 / 249

สรุปเนื้อหา

การศึกษาประวัติศาสตร์ต้องใช้ความจำร่วมกับความเข้าใจในการตีความหมายจากหลักฐาน นักเรียนต้องวิเคราะห์เหตุการณ์ ข้อเท็จจริง และเจตจำนงของนักประวัติศาสตร์ การศึกษาไม่สามารถใช้ความเข้าใจอย่างเดียวได้โดยปราศจากความจำ เพื่อให้สามารถอธิบายได้ชัดเจนและนำไปใช้ได้จริง การเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งจึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาทั้งข้อเท็จจริงและความคิดของนักประวัติศาสตร์ในยุคนั้น.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของความจำและความเข้าใจ
-การวิเคราะห์เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
-บทบาทของนักประวัติศาสตร์
-การศึกษาเชื่อมโยงกับเจตจำนงของผู้เขียน
-การตีความหมายประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.3.2 ศึกษาด้วยการใช้ความจำประกอบกับความเข้าใจ การศึกษาสิ่งใดก็ตาม ความจำ กับความเข้าใจ ต้องไปด้วยกันจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด หากเราจำได้แต่ไม่เข้าใจ ตัวเราก็ไม่ต่างอะไรกับ Hard Disk เก็บข้อมูลตัวหนึ่งแค่นั้นเอง เมื่อ จำได้แต่ไม่เข้าใจก็จะไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวไว้ว่า “ปัญหาที่ เป็นเกณฑ์ยึดเหนี่ยวทางประวัติศาสตร์จึงไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะจำอะไรได้ทั้งหมด เราจะรู้ลึกซึ้งถึงความหมายของสิ่งที่เรารู้หรือจำนั้นได้อย่างไร” แต่ขึ้นอยู่ที่ว่า นักประวัติศาสตร์มีหน้าที่สำคัญในการวิเคราะห์หาสาเหตุของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้นในอดีตจากหลักฐานต่าง ๆ แล้วเขียนสาเหตุที่ตนวิเคราะห์ได้ไว้ในตำรา นักศึกษาที่ศึกษา ผลงานของนักประวัติศาสตร์เหล่านั้นจึงต้องตรองดูสาเหตุที่เขียนขึ้นเหล่านั้น แล้วใช้ ประสบการณ์ตนเองวิเคราะห์พิจารณาว่า เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร การหมั่นวิเคราะห์พิจารณา อย่างนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในขณะเดียวกันผู้เขียนเห็นว่า ความจำ ก็มีความสำคัญ จะอาศัยเพียงความเข้าใจอย่างเดียวโดยที่จำเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้เลย เวลาจะ นำไปใช้หรืออธิบายให้คนอื่นฟังก็ไม่องอาจ หรืออธิบายได้เพียงหลักการเท่านั้นขาดตัวอย่าง ประกอบที่ชัดเจนจึงทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจเท่าที่ควร 1.3.3 ศึกษาโดยคำนึงถึงเจตจำนงของผู้เขียนประวัติศาสตร์ จากที่กล่าวข้างต้นว่า ผลงานทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นจากการตีความหมายจาก หลักฐานของนักประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ประวัติศาสตร์ จึงไม่ใช่เป็นอดีตในตัวของมันเองเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวเนื่องมาถึงความคิดของนักประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอดีตนั้น ๆ ด้วย ผู้ศึกษาตำรา ประวัติศาสตร์จึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับความคิดที่ขึ้นลงอยู่ในจิตใจของผู้เขียนประวัติศาสตร์ ยุคนั้นสมัยนั้น จะต้องศึกษาความเป็นไปในชีวิตของนักประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการศึกษา ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งนี้เพราะนักประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ย่อมต้องถูกหล่อหลอมทางความคิดจิตใจให้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อมตามภาวการณ์ต่าง ๆ ไม่ มากก็น้อย ผลงานทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการเขียนของเขาจึงอาจถูกวางรูปและถูก กำหนดขอบเขตขึ้นด้วยอิทธิพลของกาลสมัยและสถานที่ในชีวิตของเขา การที่เราจะพิจารณา หาคุณค่าของประวัติศาสตร์จึงต้องทำควบคู่ไปกับทัศนคติและบุคลิกของนักประวัติศาสตร์ แต่ละคน 1 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, ปรัชญาประวัติศาสตร์, 2527 หน้า 5 บทนำา DOU 11
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More