ข้อความต้นฉบับในหน้า
เล่มที่ 3 และ 4 ได้รับทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่ง
ราชอาณาจักรไทย
เมื่อพระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักของชาวอังกฤษมากขึ้น จึงเป็นผลให้เริ่มมีผู้ศรัทธา
ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยในปี พ.ศ.2442 กอร์ดอน ดักลาส (Gordon Douglas) ได้อุปสมบท
เป็นพระภิกษุรูปแรกของชาวอังกฤษในกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา และเป็นพระภิกษุชาว
ตะวันตกรูปแรกด้วย ได้รับฉายาว่า อโศกะ
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2445 ชาร์ลส์ เฮนรี่ อัลเลน เบอร์เนตต์ (Charles Henry Allen
Bernett) เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพราะได้อ่านหนังสือประทีปแห่งเอเชีย จึงสละเพศ
ฆราวาสอุปสมบทในโคลัมโบเช่นกัน ได้รับฉายาว่า อานันทเมตเตยยะ เมื่อบวชได้ 1 ปี ก็
เดินทางไปประเทศพม่า ได้ออกวารสารรายเดือนภาษาอังกฤษในพม่าชื่อ The Buddhist ซึ่ง
เป็นวารสารที่ลงข่าวความเคลื่อนไหวของพระพุทธศาสนาทั่วโลก โดยมีพระศีลาจาระ ชาว
สกอตแลนด์ ซึ่งอุปสมบทในพม่าเป็นผู้ช่วย วารสาร The Buddhist ส่งไปจำหน่ายในสหราช
อาณาจักรด้วย โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันพระพุทธศาสนาซึ่งขณะนั้นเพียงแค่ศึกษากันในรั้ว
มหาวิทยาลัย ให้กลายเป็นศาสนาที่มีชีวิตคืออยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของชาวตะวันตก
พระอานันทเมตเตยยะยังเป็นพระภิกษุรูปแรกที่นำพระธรรมทูตจากพม่าไปเผยแผ่ในตะวันตก
พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษเริ่มออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปอยู่ในวิถีชีวิต
ประชาชนเมื่อ อาร์.เจ.แจกสัน (R.J.Jackson) ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่าเขาคือชาวพุทธผู้ดำรง
ชีวิตตามหลักพุทธธรรมโดยไม่หวาดหวั่นต่อการถูกประณาม เชื่อกันว่าเขาคือชาวพุทธอังกฤษ
คนแรกที่ประกาศตนอย่างเปิดเผย หลังจากประกาศตนแล้ว ในปี พ.ศ.2449 อาร์.เจ.แจกสัน
ก็เริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยยืนบรรยายบนลังสบู่ในสวนสาธารณะ
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เจ.อาร์.เป็น (J.R.Pain) อดีตทหารบกซึ่งเคยประจำการอยู่ใน
พม่าได้เปิดร้านขายหนังสือพระพุทธศาสนา ณ ถนนเบอร์รี่ ตำบลบูมเบอร์รี่ และได้รับวารสาร
The Buddhist จากพม่ามาขายด้วย ชาวอังกฤษสนใจซื้ออ่านวารสารนี้กันมาก อาร์.เจ.แจกสัน
และเจ.อาร์.เปน ร่วมมือกันก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งแรกขึ้นในกรุงลอนดอน และในปี พ.ศ.2450
ด้วยความร่วมมือกับ ศ.ริส เดวิดส์ และพระอานันทเมตเตยยะ พุทธสมาคมแห่งนี้ ได้ขยาย
เครือข่ายเป็นพุทธสมาคมแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (Buddhist Society of Great Britain
and Ireland ) โดย ศ.ริส เดวิดส์ เป็นประธาน ได้พิมพ์วารสารพุทธศาสตร์ปริทัศน์เผยแพร่ด้วย
190 DOU ประวัติ ศ า ส ต ร์ พระ พุ ท ธ ศ า ส น า